การสร้างแบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง โดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ

Main Article Content

ไอลดา มงคลสุข
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อบกพร่องในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2)สร้างแบบสอบวินิจฉัยโดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ และตรวจสอบคุณภาพด้านความยาก อำนาจจำแนก ความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง และ 3)วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์เนื้อหา และคำนวณคะแนนเชิงวินิจฉัยโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเบย์


          ผลการวิจัย พบว่า 1)นักเรียนมีข้อบกพร่อง คือ การอ่านและตีความโจทย์ วิเคราะห์ความหมายสัญลักษณ์ของตัวแปรของโจทย์และปัญหาการคำนวณหา หน่วยการเรียนรู้ที่บกพร่องมากที่สุด คือ การเคลื่อนที่ 2)การสร้างแบบสอบวินิจฉัยด้วยวิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะได้จำนวน 7 คุณลักษณะ มีจำนวนข้อสอบ 13 ข้อ คุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยมีค่าพารามิเตอร์มีความยากระหว่าง (-7.86) - 0.61 และค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกระหว่าง 0.16 - 61.29 ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในด้วยวิธีของฮอยท์เท่ากับ 0.97 3)ผลการวินิจฉัยข้อบกพร่องพบว่า นักเรียนมีความรอบรู้อย่างชัดเจนในคุณลักษณะด้านความเข้าใจการอ่านโจทย์ แต่นักเรียนขาดความรอบรู้ในคุณลักษณะด้านการหาความเร่งของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง โดยที่ค่าดัชนี HCI เฉลี่ยเท่ากับ 0.72

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ไอลดา มงคลสุข

สาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สมพงษ์ ปั้นหุ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สุรีพร อนุศาสนนันท์

ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ครุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) และ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553 กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Brown, Frederick G. (1970). Principles of Educational and Psychological Testing. New York: Holt, Rinehart and Winston.

ปรารถนา พลอภิชาติ. (2556). การพัฒนาคู่มือการสร้างแบบสอบวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับครูประถม โดยใช้โมเดลข้อสอบและวิธีลำดับขั้นคุณลักษณะ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการวัดและประเมินผล. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gierl, M. J., Wang, C., & Zhou, J. (2008). Using the Attribute Hierarchy Method to Make Diagnostic Inferences about Examinees‘ Cognitive Skills in Algebra on the SAT. Journal of Technology, Learning, and Assessment, 6(6), 4-50.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาวีพร ปานทอง. (2558). การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 29 (112), 74-81.

ศิลากาญจน์ รุ่งเรือง. (2558). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ครุศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จตุพร แสนเมืองชิน. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.