การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มงานวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ของไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0

Main Article Content

เจนจิรา สุขมณี
อนุชา หิรัญวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางของงานวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
ที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยวิธีการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วยเกณฑ์ 6 เกณฑ์ ได้แก่ งานวิจัยที่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกิดการพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิขย์ งานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 งานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ งานวิจัยที่มีผู้ประกอบการในประเทศสนใจและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง งานวิจัยที่ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนในการดำเนินงาน และงานวิจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมของไทย โดยมีกลุ่มงานวิจัยที่นำมาจัดลำดับทั้งสิ้น 12 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มงานวิจัยการวิจัยการดำเนินงาน กลุ่มงานวิจัยการจัดการการปฏิบัติการและการผลิต กลุ่มงานวิจัยการศึกษางาน การวางผังโรงงาน การยศาสตร์ ความปลอดภัย กลุ่มงานวิจัยการจัดการคุณภาพ กลุ่มงานวิจัยการจัดการพลังงาน กลุ่มงานวิจัยความยั่งยืนในวิศวกรรมอุตสาหการ กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมวัสดุและกระบวนการผลิต กลุ่มงานวิจัยโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ กลุ่มงานวิจัยการจัดการนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม กลุ่มงานวิจัยการจัดการวิศวกรรม กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมการบำรุงรักษาและความน่าเชื่อถือ และกลุ่มงานวิจัยหัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์


ผลการจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มงานวิจัยด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์พบว่า กลุ่มงานวิจัยด้านการจัดการนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีในอุตสากหรรม ความยั่งยืนในวิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการพลังงาน และโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เป็นกลุ่มงานวิจัยที่ควรมุ่งเน้น ผ่านสองกระบวนการหลัก ได้แก่ การส่งเสริมและให้ทุนสนับสนุน และการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับให้สอดคล้องกับทิศทางของกลุ่มงานวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เจนจิรา สุขมณี

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

 

อนุชา หิรัญวัฒน์

ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

ธนภณ เจียรณัย และมงคล อิทธิผลิน. (2562). การคัดเลือกที่ตั้งเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศในประเทศไทย. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 9(3), 45-61.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2563). โครงการศึกษาแผนอนาคตของภาคอุตสาหกรรม (Industry Foresight) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0 (ระยะที่ 2). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). โครงการเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อรองรับการเชื่อมโยงในภูมิภาคด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล ระยะที่ 2. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). โครงการจัดทำยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยด้วยระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงอุตสาหกรรม.

เจนจิรา สุขมณี. (2559). งานวิจัยวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ของไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0 : วิธีวิจัยเชิงบุกเบิก. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Abdaullah L & Adawiyah CWR. (2014). Simple additive weighting methods of multi criteria decision making and applications: A decade review. International Journal of Information Processing and Management. 5(1) : 39-49.

Saaty TL. (1980). The analytic hierarchy process. New York : McGraw-Hill.

Saaty RW. (1987). The analytic hierarchy process-what it is and how it is used. Mathematical Modelling. 9(3-5) : 161-76.