โมเดลการดำนินงานขององค์กรและโมเดลการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีประสิทธิผล และมีความยั่งยืนในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19

Main Article Content

กรวิก พรนิมิตร
นภาพร ณ เชียงใหม่

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลการดำนินงานขององค์กรและโมเดลการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีประสิทธิผลและมีความยั่งยืนในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากหน่วยงาน 22 คณะ และผู้มาติดต่อใช้บริการหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 384 คน ซึ่งได้มาโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยวิธีสะดวก (Specific and Convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ความถดถอยเชิงเส้นของตัวแปรกับเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ โดยกำหนดความเชื่อมั่น 95% Significant level.05 วิเคราะห์ Model 1 รูปแบบ ANOVA และ สหสัมพันธ์ ซึ่งแปลผล R=0 แปลว่า 2 ตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง R=+1 แปลว่า 2 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง (ไปในทิศทางเดียวกัน) R = -1 แปลว่า 2 ตัวแปรมีความสัมพันธ์ผกผันกันเป็นเส้นตรง (ไปในทิศทางตรงกันข้าม) ผลการวิจัย ทั้ง 2 โมเดล พบว่า


       โมเดลที่ 1 การดำเนินงานขององค์กรที่มีประสิทธิผลและมีความยั่งยืนในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 พบว่าประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ 1) องค์กรที่มีโครงสร้างเครือข่ายและระบบเสมือนจริงในระดับสูง 2) องค์กรที่มีห่วงโซ่อุปทานที่สั้นและหลากหลายกว่า 3) องค์กรที่มีวัฒนธรรมการปรับตัวและความยืดหยุ่น 4) องค์กรที่มีความเป็นผู้นำแบบกระจายและกำลังคน 5) องค์กรที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตขั้นสูง 6) องค์กรที่มีแผนฉุกเฉินทางการเงิน


       โมเดลที่ 2 การดำเนินชีวิตในสังคมที่มีประสิทธิผลและมีความยั่งยืนในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 พบว่าประกอบด้วย 9 ปัจจัย คือ  ปัจจัยที่ 1 สมมุติฐานการเกิดปัญหาไวรัสโควิด 19 ปัจจัยที่ 2 สมมุติฐานปัญหาไวรัสโควิด 19 ปัจจัยที่ 3 สมมุติฐานปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นตราบาปหลังการเกิดไวรัสโควิด 19 ปัจจัยที่ 4 ต้องปรับเปลี่ยนโลกสู่สิ่งดีๆ ให้กับคนส่วนใหญ่ มุ่งสร้างความสุข ภายใต้การเกื้อกูลและแบ่งปัน รู้จักเติมเมื่อขาด รู้จักหยุดเมื่อพอ รู้จักแบ่งปัน ปัจจัยที่ 5 การระบาดไวรัสโควิด 19 ปัจจัยที่ 6 มีสิ่งมหัศจรรย์จากภายในของผู้คน ปัจจัยที่ 7 การเตรียมคนไทยมีนิสัยแห่งความสุขที่แท้จริง ปัจจัยที่ 8 การเตรียมคนไทยในโลกหลังโควิด และ ปัจจัยที่ 9 บทสรุป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กรวิก พรนิมิตร, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

นภาพร ณ เชียงใหม่, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

References

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2564). [ออนไลน์]. จับอาการ เศรษฐกิจทางออกวิกฤตไทย. [accessed 20 Dec 2021] จาก https://www.bot.or.th › Thai › Speeches › Gov,16 สิงหาคม 2564.

สุวิทย์ เมษิณทรีย์. (2563). [ออนไลน์]. โลกเปลี่ยน คนปรับ หลุดจาก กับดักขยับสู่ความยั่งยืน. [accessed on 1 June 2021] จาก https://www.nstda.or.th/ home/knowledge post/the-world-changes-people/, ebook เอกสารเผยแพร่ 21 พฤษภาคม 2563.

Sanchis Raquel Canetta Luca and Poler Raúl. (2020). [Online]. A Conceptual Reference Framework for Enterprise Resilience Enhancement [accessed on 1 Dec 2021] https://www.researchgate.net › publication › 339421836

Steve Waddell M. Mclachlan Greta Meszoely; Sandra Waddock, Comell Sarah,Dentoni Domenico,Mclachlan Milla,MesZoely Greta. (2015). [Online]. Large Systems Change :An Emerging Field of Transformation and Transitions. [accessed on 2 Dec 2021] https://af.booksc.eu › book,Greenleaf Publishing.

Tobias Hahn, Frank Figge, Jonatan Pinkse & Lutz Preuss. (2018). [Online]. Tensions in Corporate Sustainability: Towards an Integrative Framework. [accessed on 12 Oct 2021]. https:// philpapers.org › rec › - Journal of Business Ethics 148 (2):235-248.

Steven W. Bradley, Dean A. Shepherd and Johan Wiklund. (2011). [Online]. The Importance of Slack for New Organizations Facing ‘Tough’ Environments. [accessed on 12 Oct 2021]. https://doi.org/10.1111/j.1467-6486.2009.00906.x.

Kahn William A. Barton Michelle A. Fellows Steven. (2021). [Online]. Organizational crises and the disturbance of relational systems. [accessed on 15 Dec 2021]. https://www.researchgate.net › publication › 27442132... June 2013.

Waller, Mary J. Lei, Zhike Pratte, Robert. (2014). [Online]. Focusing on teams in crisis management education: An integration and simulation-based approach. [accessed on 20 June 2021]. https://ur.booksc.eu › D. J. Pratten.

Inna Korol and Anastasiya Poltorak, (2017). [Online]. Financial Risk Management as a Strategic Direction for improving the level of Economic Swcurity of the State. [accessed on 1 Oct 2021]. https://drive.google.com/file/d/ 1gzlm18rztNfeXYwz-qqEyDYOomfTwn5F /view.

ดนุชา พิชยนันท์. (2564). [ออนไลน์]. 13 หมุดหมายพลิกโฉมประเทศไทย. (ออนไลน์) [accessed on 1 Sept 2021]. จากดำรงเกียรติ มาลา, 22.09.2021,).

ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา. (2564). [ออนไลน์]. 10 ทักษะจำเป็น World Economic Forum, [accessed on 10 July 2021]. จาก https://www.salika.co › 2021/01/23.

เสาวรัจน์ รัตนคำฟู.(2564). [ออนไลน์]. ทีดีอาร์ไอ เร่งรัฐตื่นตัวหนุนประชาชนยกระดับทักษะรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ทันโลกเปลี่ยน หลังโควิด-19. [accessed on 12 Dec 2021]. สืบค้นจาก https://tdri.or.th › 2021/11 › jobs-an

สโรจ เลาหศิริ. (2564). [ออนไลน์]. 5 ทักษะที่จำเป็นของผู้นำรุ่นใหม่ในการทำงานในโลกที่จะเต็มไปด้วย AI, [accessed on 20 Sept 2021].จาก https://www.scb.co.th › tips-for-you.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2563). [ออนไลน์].แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 สรุปสำหรับผู้บริหาร. [accessed on 2 July 2021].จาก http://nscr.nesdb.go.th › uploads › 2020/07