การประเมินติดตามผลโครงการส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

จตุพร เปรมเจริญ
พงศ์เทพ จิระโร
ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความรู้เกี่ยวกับรูปแบบกลไกการส่งเสริมวินัยนักเรียน   2) เพื่อประเมินความเป็นอรรถประโยชน์ของรูปแบบกลไกการส่งเสริมวินัยนักเรียน และ 3) เพื่อประเมินการปฏิบัติวินัยของนักเรียนในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครู และผู้นำนักเรียน จาก 5 โรงเรียนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน มีจำนวนทั้งหมด 409 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีแบบสอบถามแบบปลายเปิดร่วมด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา การทดสอบค่าที (t-test)


การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)  และสูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation(rxy)) 


ผลการวิจัยพบว่า จำนวนครู และผู้นำนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบกลไกส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียนผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 89.70 ของผู้ตอบแบบวัดความรู้ทั้งหมด  โดยนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครูและคณะกรรมการนักรียนมีความเห็นว่ารูปแบบกลไกการส่งเสริมวินัยนักเรียนนี้มีความเป็นอรรถประโยชน์ต่อสถานศึกษาอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.14 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51   และระดับการปฏิบัติวินัยของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 1) ด้านการปฏิบัติตามระเบียบ   2) ด้านการปฏิบัติตามกฏของโรงเรียน 3)  ด้านการวางตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ 4) ด้านการเคารพสิทธิผู้อื่น มีระดับค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติวินัยของนักเรียนแต่ละด้านเท่ากับ 3.99, 4.08, 4.19 และ4.11 ตามลำดับ 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จตุพร เปรมเจริญ

สาขาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาE-mail: 

    

พงศ์เทพ จิระโร

อาจารย์ประจำ สาขาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

     

ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม

อาจารย์ประจำ สาขาบริหารการศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

      

References

มาลินี จุฑะรพ. (2537). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษราพิพัฒน์.

มรกต อนุเคราะห์. (2547). การพัฒนางานวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านต้นปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อภิชาติ หงษ์ภู. (2557). การส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียน โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุกานดา ตีพัดดี. (2554). การประเมินผล

โครงการอบรมพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับ

พยาบาลวิชาชีพใหม่ โรงพยาบาลกาฬ

สินธ์. ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหา

บัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการ

พยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์.

มหาวิทยาลัยบูรพา.

แววพันธ์ วาดเขียน. (2547). การประเมินโครงการอบรมพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยา

บาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา.

ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล.

คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิไลวรรณ ยินดี. (2556). การประเมินโครงการอบรมเครือข่ายเยาวชนนักประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้านของ

เทศบาลตำบลกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน.ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สมคิด บางโม. (2545). เทคนิคการ

ฝึกอบรมการประชุม. กรุงเทพฯ:

วิทยพัฒน์.

อุดม ถาวร. (2547). การประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการส่วนภูมิภาคด้วยวิธีการฝึกอบรมทางไกลในเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงษ์ศักดิ์ นามกอง. (2546). การปฏิบัติงานส่งเสริมวินัยนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเลย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สถาบันราชภัฏเลย.

สำเภา พุทธปวน. (2547). การศึกษาการส่งเสริมพัฒนาวินัยนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วันเพ็ญ สัตยากูล. (2555). แนวทางการ ส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียนในสถาน

ศึกษาเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี.

ประไพศิลป์ ศรีณรงค์ฤทธิ์. (2552). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัย ชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย จังหวัดเลย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เฉลียว นครไพร. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด.