การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้บริหารฝ่ายควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อการแข่งขัน

Main Article Content

วีระ แสงฮวด
สุชาติ เซี่ยงฉิน
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารฝ่ายควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อการแข่งขัน และ 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้บริหารฝ่ายควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการตอบแบบสอบถาม จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)


       ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารฝ่ายควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อการแข่งขัน ประกอบด้วย ศักยภาพ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ โดยศักยภาพในแต่ละด้านประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ดังนี้ ด้านความรู้ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านระบบงานในองค์กร ด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ในการควบคุมคุณภาพ และ ด้านความต้องการของลูกค้า ด้านทักษะ ได้แก่ ด้านการบริหารงานด้านคุณภาพ ด้านการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการจัดการข้อมูลและการสื่อสาร ด้านการบริหารภายใต้การเปลี่ยนแปลง และด้านการวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึก และด้านคุณลักษณะ ได้แก่ ด้านภาวะความเป็นผู้นำ ด้านความคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้านการให้ความสำคัญกับทีมงาน และด้านจิตสำนึกเชิงคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วีระ แสงฮวด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สุชาติ เซี่ยงฉิน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ทวีศักดิ์ รูปสิงห์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

สถาบันยานยนต์ไทย (2555). [ออนไลน์]. 20 ปี สถาบันยานยนต์” ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564]. จาก www. https://www.mreport.co.th/ news/industry-movement/101- Automotive-TAI-Industry4.

Laofor,C.,Peansupa, V. (2012). Defect detection and quantification system to support subjective visual quality inspection via a digital image processing: a tiling work case study. Automation in Construction, 24:160-174. https://doi.org/10.1016/j.autcon.2012.20.012.

Luo,Q.&He,Y.(2016). A cost-effective and automatic surface defect inspection system for

hot-rolled flat steel. Robotics and Computer-Integrated Manufacturing. 38: 16-30, http://doi.org/10.1016/j.rcim.2015.09.008.

Molleda,J., Usamentiaga,R, R., Garcia, D.F., Bulnes, F.G., Espina, A., Dieye, B.& Smith, L.N. (2013). An improved 3D imaging system for dimensional quality inspection of rolled products in the metal industry.

เอกชัย พรรณวัลย์ และสุภทรชัย สุดสวาท. (2561).การตรวจสอบชิ้นงานอัตโนมัติผ่านระบบการประมวลผลภาพในการผลิตชิ้นส่วนยายนต์. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, ISSN 1513-7805 Printed in Thailand, Vol, 16 No.1:45-59, doi : 10.14416/j.appsci.2017.06.601.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2563). [ออนไลน์]. ข้อมูลธุรกิจในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564]. จากwww. https://data.go.th/dataset/eec-2563

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (2nd ed). New York, Harper&Row.

Schwab, K. (2016) The Fourth Industrial Revolution. World Economic Forum. https://www.scirp.org/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=2019783

สุภาพรรณ อนุตรกุล. (2564). [ออนไลน์]. ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล.มหาวิทยาลัยแม่โจ้, [สืบค้นเมื่อเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564]. จากwww. https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx? qid=1246.

Hobbs, R. (2010). Digital and Media Literacy. A Plan of Action. The Aspen Institute. https://scirp.org/reference/referencespapers.aspx?referenceid=3066118

ทินภักร ป้องพาล,พาณิน พุกกล้าแข็ง. (2563).การควบคุมคุณภาพความสูญเสียในกระบวนการการผลิตถังแรงดัน. วิทยาลัยนวัตนกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (1994) Consumer behavior. Prentice-Hall, Englewood Cliffs. https://www.scirp.org/(S(351jmbntvnsjt1aadkposzje))/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=1471953