การพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัล 3) สร้างคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม และกลุ่มกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคู่มือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) การบริหารองค์กร มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 หลักในการบริหารองค์กร 1.2 กระบวนการบริหารองค์กร 1.3 นวัตกรรมการเงินและบัญชี 1.4 เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเงินและบัญชี องค์ประกอบที่ 2) ความรู้อาหารเพื่อสุขภาพ มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 2.2 ความรู้ด้านวัตถุดิบ 2.3 ความรู้ด้านการใช้บรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบที่ 3) การบริหารการผลิต มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิต 3.2 กระบวนการผลิตตามประเภทสินค้า 3.3 มาตรฐานการประกอบอาหาร 3.4 จรรยาบรรณในการประกอบอาหาร และ องค์ประกอบที่ 4) การสื่อสารทางการตลาด มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1 การสื่อสารในตลาดดิจิทัล 4.2 การสื่อสารกับลูกค้าในตลาดทั่วไป 4.3 การสื่อสารในสังคมผู้สูงอายุ และ 2.) รูปแบบและคู่มือแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การแนะนำการใช้คู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัล รูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัลได้รับการเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ และคู่มือแนวทางได้รับการประเมินจากผู้เชียวชาญในด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับดีเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพในยุคดิจิทัลได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). [ออนไลน์]. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน: กระบวนทัศน์การพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0". [สืบค้นวันที่ 9 มกราคม 2566]. จาก https:// www. tsdf.nida.ac.th/th/article/10986/.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). [ออนไลน์]. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 - 2579). [สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2566.]. จาก https:// www.waa.inter.nstda.or.th/.
ศูนย์ศึกษาและเฝ้าะวังปัญหาสุขภาพและสาธารณสุขด้านผู้สูงอายุ. (2554). [ออนไลน์]. โภชนาการกับผู้สูงอายุ. [สืบค้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566.]. จาก https://surveillance.cphs.chula.ac.th/attachments/article/.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Frederick, H. H., Kuratko, D. F., & Hodgetts, R. M. (2007). Entrepreneurship: Theory process practice (Asia-Pacific ed.). Thomson South-Western.
Hatten, T.S. (2006). Small Business Management: Entrepreneurship and Beyond. 3rd Ed. Boston: Houghton Mifflin.
Glass, A. (2007). Understanding generational differences for competitive success, Industrial and Commercial Training, 39, 2, 98-103.
ชินะพันธ์ สุขะการผดุง. (2564). การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้บริหารอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 11(2),32-52.
ปริญญา ศักดิ์นาวี. (2560). การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการแข่งขัน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Hatten, T.S. (2006). Small Business Management: Entrepreneurship and Beyond. 3rd Ed. Boston: Houghton Mifflin.
จุฑามาศ ศรีชมพู. (2563). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 8(1),42-53.
สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.
อรรวีวรร โกมลรัตนวัฒนะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับสูงในการบริหารงานเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Frederick, H. H., Kuratko, D. F., & Hodgetts, R. M. (2007). Entrepreneurship: Theory process practice (Asia-Pacific ed.). Thomson South-Western.
Miller, D. and Friesen, P.H. (1982). Innovation in Conservative and Entrepreneurial Firms: Two Models of Strategic Momentum. Strategic Management Journal, 3, 1-25. https://doi.org/10.1002/smj.4250030102.