การศึกษาความเป็นไปได้ของวารสารวิชาการด้านการบิน สถาบันการบินพลเรือน

Main Article Content

วรันตรี ปลั่งวัฒนะ
กรวิทย์ มหาคุณวงศ์
อัญยาณีย์ เกตุพันธุ์

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ของวารสารวิชาการด้านการบินสถาบันการบินพลเรือน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาความต้องการในการจัดทำวารสารวิชาการด้านการบินสถาบันการบินพลเรือน และ 2. เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางในการบริหารงานของการจัดทำวารสารวิชาการด้านการบินสถาบันการบินพลเรือน วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสถาบันการบินพลเรือน ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ (Checklist)  และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ซึ่งผู้วิจัยจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)


       ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสำรวจความต้องการในการจัดทำวารสารวิชาการด้านการบินสถาบันการบินพลเรือนของบุคลากรสถาบันการบินพลเรือน ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน พบว่ามีความต้องการในการจัดทำวารสารวิชาการด้านการบินสถาบันการบินพลเรือน ร้อยละ 100 2. ผลการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการบริหารงานของการจัดทำวารสารวิชาการด้านการบินสถาบันการบินพลเรือน มีค่าเฉลี่ยที่จำแนกได้ 4 ด้าน ได้แก่ ลำดับที่ 1 ด้านกระบวนการบริหาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 3.45 รองลงมาในลำดับที่ 2 ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย 3.19 ลำดับที่ 3 ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ย 3.03 และลำดับที่ 4 ด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย 2.79 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ปลั่งวัฒนะ ว., มหาคุณวงศ์ ก. ., & เกตุพันธุ์ อ. (2024). การศึกษาความเป็นไปได้ของวารสารวิชาการด้านการบิน สถาบันการบินพลเรือน. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 36(131), 59–67. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/4994
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วรันตรี ปลั่งวัฒนะ, สถาบันการบินพลเรือน

กองวิชาบริหารการบิน สถาบันการบินพลเรือน

กรวิทย์ มหาคุณวงศ์, สถาบันการบินพลเรือน

กองวิชาบริหารการบิน  สถาบันการบินพลเรือน

อัญยาณีย์ เกตุพันธุ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). แนวโน้มความต้องการบุคลากร ในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต (New S-Curve) และทิศดางนโยบาย การพัฒนากำลังคนของประเทศไทย พ.ศ.2563-2567. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล.

อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร. (2554). โมดูล 7 ชั้นเรียนของครู ผู้รู้จัดการ : ชุดฝึกอบรมครู โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันการบินพลเรือน. (2565). รายงานประจำปีสถาบันการบินพลเรือน 2564. [ออนไลน์].dd แหล่งที่มา:https://www.catc.or.th/wp-ontent/uploads/2022/08/ANNUAL_REPORT_2021- v.020822.pdf

วิสูตร จิระดาเกิง. (2552). การบริหารโครงการ แนวทางปฏิบัติจริง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี : วรรณกวี.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). บริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

Kaenthaow . (2021). PRINCIPLES AND TECHNIQUES OF TIME MANAGEMENT FOR EXECUTIVES. Journal of MCU Social Science Review, 10(1), 300–308. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/243474

สุพาดา สิริกุตตา และคณะ. การวางแผนและการบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : ไดมอนด์อินบิซิเนสเวิลดิ์; 2543.

Jones, K. (1999). Time management. New York: Amacom.

Fayol, H. (1916). General principles of management. Classics of organization theory, 2(15), 57-69.

สมคิด บางโม. (2541). องคการและการจัดการ. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีจํากัด

ปกรณ์ ปรียากร. (2545). การบริหารโครงการ: แนวคิดและ แนวทางในการสร้างความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์;

DeBono, E. (1971). Laterales Denken. Rowohlt.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย 1. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: โรงพิมพ์พีเอส. พริ้นท์.

อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2547). ยุทธศาสตร์การบริหารในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 7(4): 26-31; ตุลาคม-ธันวาคม.

ปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2544). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bennis, W. and B. Nanus. (1985). Leaders : Strategies for Taking Change. 2nded. New York : Harper Collins Publishers.

Johnson, R.A., F.E. Kast. And J.E. Rosenzweig. (1963). The Theory and Management of Systems. New York : McGraw-Hill.

Simon, H.A. (1947). Administrative Behaviour : A Study of Decision-MakingProcesses in Administrative Organization. New York : The Macmillan Co.

Houston, A. I., & McNamara, J. M. (1999). Models of adaptive behaviour: an approach based on state. Cambridge University Press.

Etzioni, A. (1964). On self-encapsulating conflicts. Journal of Conflict Resolution, 8(3), 242-255.

Yuchtman, E., & Seashore, S. E. (1967). A system resource approach to organizational effectiveness. American sociological review, 891-903.

Kerzner, H. (1998). In search of excellence in project management. In In search of excellence in project management. van nostrand reinhold.

ดนัย กล้าการขาย และวิสูตร จิระดำเกิง. (2021). ปัญหาและแนวทางแก้ไขในกระบวนการจัดตั้งงบประมาณ. In Rangsit Graduate Research Conference: RGRC (Vol. 16, pp. 49-60).

ชนม์นิภา ช่างทอง และ ชญาพิมพ์ อุสาโห. (2015). การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล). Online Journal of Education, 10(3), 556-566.