การศึกษาคุณลักษณะพึงประสงค์ของพนักงานขายในสถานประกอบการประเภทเครื่องมือไฟฟ้าไร้สาย ในยุคดิจิทัล

Main Article Content

พีรเชฏฐ์ ลบช้าง
วรกมล วิเศษศรี
ชุลีวรรณ โชติวงษ์

บทคัดย่อ

       การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของพนักงานขายในสถานประกอบการประเภทเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายในยุคดิจิทัล เปรียบเทียบกับคุณลักษณะส่วนบุคคล 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของพนักงานขายในสถานประกอบการประเภทเครื่องมือไฟฟ้าไร้สายในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นพนักงานขายในสถานประกอบการประเภทเครื่องมือไฟฟ้าไร้สาย ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและนนทบุรี จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test, F-test เทคนิค One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ไคสแควร์


       ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของพนักงานขายโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของพนักงานขาย ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ด้านงานขาย และรายได้ต่อเดือน และที่ไม่ความแตกต่างกันทางสถิติ คือ เพศ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของพนักงานขายโดยรวม พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือน มีค่าสัมประสิทธิ์การจรสูงสุด เท่ากับ 0.84

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พีรเชฏฐ์ ลบช้าง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วรกมล วิเศษศรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ชุลีวรรณ โชติวงษ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

มติชนออนไลน์. (2564). [ออนไลน์]. Digital Disruption คืออะไร และเราต้องเตรียมรับมืออย่างไร. [สืบค้นวันที่ 8 ตุลาคม 2564]. จาก ttps://shorturl.asia/rcvHx.

จิตติมา ขำดำ. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานของนักบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร. 39 (2), 52-65.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2556). Competency - Based Approach. กรุงเทพมหานคร : กราฟิโก ซิสเต็มส์.

กิตตินันท์ อารยชาติสกุล. (2560). สมรรถนะที่ต้องการของผู้แทนขายบริษัท SCG Plastics. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

ชมพูนุช คันทะชมภู. (2557). คุณลักษณะของนักขายรุ่นเยาว์วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาอาชีวศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจษฎา พลายชุมพล. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของช่างไฟฟ้าภายในอาคาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตติมา ปฏิมาประกร. (2559). การพัฒนาและการจัดการคุณลักษณะทักษะการขายของนักขายที่ส่งผลต่อเป้าหมายบริษัทในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ประเภทฉลากสินค้า : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นาถรพี ชัยมงคล. (2561). ความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของพนักงานที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน). วารสารสหวิทยาการวิจัย. 7(2),105-117.