ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับความก้าวหน้าในงานของพนักงานในองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)

Main Article Content

ณัฐพงษ์ สืบจันทร์
วรกมล วิเศษศรี
จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และความก้าวหน้าในงานของพนักงานในองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และความก้าวหน้าในงานของพนักงานในองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับความก้าวหน้าในงานของพนักงานในองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารระดับสูง ตำแหน่งผู้อำนวยการ เพื่อสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน 2) พนักงานทั่วไป เพื่อตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


       ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และความก้าวหน้าในงานของพนักงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และความก้าวหน้าในงานของพนักงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ อายุ ระดับการศึกษา และอายุงาน และที่ไม่มีความแตกต่างกัน คือ เพศ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับความก้าวหน้าในงานของพนักงาน พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐพงษ์ สืบจันทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วรกมล วิเศษศรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

Wollard ,K.K. & Rocco, T.S. (2006). [online]. Creating Memories : The Interaction Process of Service Delivery. [cited 1 Apr. 2021]. Available from : URL : https://core.ac.uk/reader/46946520

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปี 2562. แผนปฏิบัติการประจำปี 2562. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.

ไพลิน บุญนา. (2559). ลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นครินศร์ จับจิตต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.

ดวงกมล วิเชียรสาร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช. (2563). ความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองของบุคลากร สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการจัดการและการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7 (2),103-118.

ณัฐกานต์ ไว. (2562). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัชชา บุญประไพ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.