การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องก้าวแรกสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ยุค Thailand 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เรื่องก้าวแรกสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ยุคThailand 4.0 และ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เรื่องก้าวแรกสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ยุคThailand 4.0 เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินคุณภาพของระบบหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบฝึกหัดระหว่างเรียน และใบงาน โดยกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งเป็นนักศึกษาในชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2/2562 และผ่านการเรียนในรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูวิชาชีพมาแล้ว ในภาคการศึกษาที่ 1/2562 จำนวนทั้งหมด 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เรื่องก้าวแรกสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ยุคThailand 4.0 มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) ระบบหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เรื่องก้าวแรกสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพ ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก และมีคุณภาพด้านเทคนิคอยู่ในระดับมาก 3) หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เรื่องก้าวแรกสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ยุคThailand 4.0 มีประสิทธิภาพ 84.53/85.46
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อาทิตย์ จิรวัฒนผล และคณะ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีพช่างอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บ (WebQuest) . วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 8 (1),17-25.
เอมมิกา วชิระวินท์ และคณะ. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เรื่องการประยุกต์ใช้เว็บ 2.0 ในชั้นเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมกันบนออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะไอซีทีของครู. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18 (1), 182-197.
อรุณรุ่ง โยธสิงห์ และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8 (2),270-284.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.(2546). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องสาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้.
คู่มือหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (5 ปี). (2558). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
คู่มือหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (5 ปี). (2558). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
คู่มือหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (5 ปี). (2558). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.(2546). ประกาศคุรุสภา เรื่องการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557.
นิติ นาชิต และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนำรูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ไปใช้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา . Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(1),611-629.
ณิชากร นิธิวุฒิภาคย์ และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการจัดการเรียนแบบโครงงานของครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 11 (3),37-51.