ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมระบบทวิภาคีของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการธุรกิจอาหารและบริการด้านอาหารภายในโรงแรมแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนิดา รวิพันธ์ชัยกร
ญัจณ์ชญา ชัยวิรัตน์นุกุล
สัญญา บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจเข้าร่วมระบบทวิภาคีของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการธุรกิจอาหารและบริการด้านอาหารภายในโรงแรมแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมระบบทวิภาคีของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการธุรกิจอาหารและบริการด้านอาหารภายในโรงแรมแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมระบบทวิภาคีของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการธุรกิจอาหารและบริการด้านอาหารภายในโรงแรมแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมระบบทวิภาคีกับกลุ่มสถานประกอบการ จำนวน 134 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม ด้วยค่าสถิติ t-test, F-test และการทดสอบค่าความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร ด้านการเลือกจดจำ ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมระบบทวิภาคีของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการธุรกิจอาหารและบริการด้านอาหารภายในโรงแรมแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญตามสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธนิดา รวิพันธ์ชัยกร

 สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ 

  

ญัจณ์ชญา ชัยวิรัตน์นุกุล

สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

  

สัญญา บริสุทธิ์

 สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

References

นิศากร เจริญดี. (2562). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสาร

พัฒนาเทคนิคศึกษา. 32 (112), 125-126.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). [ออนไลน์]. การบริหารความเสี่ยงของสำนักงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2554. [สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562].

จาก http://www. hidtiep.go.th/arlicles/phanll.doc.

ภูวเรศ อับดุลสตา. (2559). ทางเลือกในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีเพื่อยกระดับคุณภาพแรงงาน

ไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 10 (2), 57-76.

Klapper, J. T. (1960). The Effects of Coomunication. New York: Free Press.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). เทคนิคการสร้างเครื่องมือ รวบรวมข้อมูลสำหรับวิจัย.

กรุงเทพมหานคร: งานเจริญพานิชย์.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ยู แอนด์ไอ

อินเตอร์ มีเดีย จำกัด.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์.

วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18,379-381.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : ทิปพับลิเคชั่น.

นุสรา บูรณะวงศ์. (2558). การรับรู้สื่อโฆษณาที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อแชมพู ของผู้บริโภคใน

จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร. ภาควิชา

บริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.