สมรรถนะของหัวหน้างานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

Main Article Content

กนกรัตน์ พงษ์โพธากุล
ใจพร ลาภาพิสิษฐ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของหัวหน้างานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ 2) สมรรถนะของหัวหน้างานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พนักงานฝ่ายผลิตในระดับหัวหน้างานหรือสูงกว่าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ


          ผลการวิจัย ระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของหัวหน้างานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะมีความสำคัญสูงสุดมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อในภาพรวม พบว่า รายข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ รักการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ส่วนผลการศึกษาสมรรถนะของหัวหน้างานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ พบว่า ด้านความรู้ ประกอบด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลเพื่อวางแผนในการผลิต 3) ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต และ4) ความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิต ด้านทักษะประกอบด้วย 1) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 2) ความสามารถในการบริหารการผลิต 3) ความสามารถในการบริหารงานบุคคล และด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 1) ภาวะความเป็นผู้นำ 2) การมีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน 3) การใฝ่เรียนรู้และ4)การมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของหัวหน้างานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กนกรัตน์ พงษ์โพธากุล, คณะพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ใจพร ลาภาพิสิษฐ์, บริษัท อะซาดะ เคมีคอล จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา

บริษัท อะซาดะ เคมีคอล จำกัด 129/28 หมู่ที่ 3 ตำบลวังจุฬา จ.พระนครศรีอยุธยา, 13170

References

สถาบันยานยนต์ไทย (2555). 20 ปี สถาบันยานยนต์” ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์. www.https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/101- Automotive-TAI-Industry4.ค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563.

{2} ทวีวัฒน์ มหาศิริอภิรักษ์. (2561). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิตเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Laofor,C.,Peansupa, V. (2012). Defect detection and quantification system to support subjective visual quality inspection via a digital image processing: a tiling work case study. Automation in Construction, 24:160-174. https://doi.org/10.1016/j.autcon.2012.20.012.

Luo,Q.&He,Y.(2016). A cost-effective and automatic surface defect inspection system for hot - rolled flat steel. Robotics and Computer-Integrated Manufacturing. 38: 16-30, http://doi.org/10.1016/j.rcim.2015.09.008.

Molleda,J., Usamentiaga,R, R., Garcia, D.F., Bulnes, F.G., Espina, A., Dieye, B.& Smith, L.N. (2013). An improved 3D imaging system for dimensional quality inspection of rolled products in the metal industry.

เอกชัย พรรณวัลย์ และสุภทรชัย สุดสวาท. (2561). การตรวจสอบชิ้นงานอัตโนมัติผ่านระบบการประมวลผลภาพในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, ISSN 1513-7805 Printed in Thailand, Vol, 16 No.1:45-59, doi : 10.14416/j.appsci.2017.06.601. https://www.researchgate.net/publication/318365417_Automated_part_inspection_by _image_processing_system_in_vehicle_part_manufacturing

เมธี ปิยะคุณ และสุรชัย เลิศธนาผล. (2551). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบe-training เรื่อง. ทักษะการสอนสำหรับหัวหน้างาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สุรพล ชามาตย์. (2554). การพัฒนาชุดฝึกอบรมสำหรับพนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อแก้ปัญหาการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์.ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2562). ข้อมูลธุรกิจในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. จาก www. https://data.go.th/dataset/eec-2562 ค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (2nd ed). New York, Harper & Row.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.

Schwab, K. (2016) The Fourth Industrial Revolution. World Economic Forum. https://www.scirp.org/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=2019783

สุภาพรรณ อนุตรกุล. (2564). ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล.มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ค้นจาก www. https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1246. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

Hobbs, R. (2010). Digital and Media Literacy. A Plan of Action. The Aspen Institute. https://scirp.org/reference/referencespapers.aspx?referenceid=3066118

Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (1994) Consumer behavior. Prentice-Hall, Englewood Cliffs. https://www.scirp.org/(S(351jmbntvnsjt1aadkposzje))/reference/ReferencesPapers.aspx?Reference ID=1471953

กฤตชน วงศ์รัตน์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, วิเชียร เกตุสิงห์, & นิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ. (2012). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์. วารสาร วิชาการ พระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 22(1), 131-141.

ธนบูรณ์ กิตติ์จิรพัฒนากร. (2552). สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารระดับกลางของอุตสาหกรรมการ โรงแรมในภาคใต้ของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.