แนวทางการบริหารสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อการรับรู้ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Main Article Content

ขวัญฤทัย ศรีวัฒนพล
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานการบริหารสื่อสังคมออนไลน์ 2) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษา และ 3) แนวทางการบริหารสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน  394 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาองค์ประกอบ (Factor Analysis) แนวทางการบริหารสื่อสังคมออนไลน์  


    ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานการบริหารสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) การให้บริการที่มีอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ 2) เนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร และ 3) ประโยชน์และการนำไปใช้ ด้านพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พบว่า การเข้าใช้บริการเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ Line รับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์จากเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ Facebook การสืบค้นข่าวสารประชาสัมพันธ์จากเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ Facebook และ ได้รับข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์จากเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมากที่สุด ได้แก่ ข่าวรับสมัครนักศึกษา/กิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย  ส่วนแนวทางการบริหารสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) จากการสังเคราะห์ข้อมูลแนวทางการบริหารสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ด้านช่องทางข่าวเชื่อมโยงทันเหตุการณ์ มี 6 องค์ประกอบย่อย 2) ด้านลำดับเนื้อหาข่าว ถูกต้องครบถ้วนตามข้อเท็จจริง มี 6 องค์ประกอบย่อย  3) ด้านสืบค้นข้อมูลข่าวได้รวดเร็ว ใช้แบ่งปัน-แชร์ และอ้างอิง มี 4 องค์ประกอบย่อย 4) ด้านรูปแบบการสื่อสารใช้คำ สี ตัวอักษร สวยงาม และชัดเจน มี 5 องค์ประกอบย่อย 5) ด้านข่าวสารประชาสัมพันธ์มีความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งความรู้ มี 5 องค์ประกอบย่อย และ 6) ด้านระบบเครือข่ายเสถียรภาพ และครอบคลุม มี 7 องค์ประกอบย่อย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ขวัญฤทัย ศรีวัฒนพล, สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนื

กองกลาง  สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร

ทวีศักดิ์ รูปสิงห์, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาเทคโนโลยีพะจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาเทคโนโลยีพะจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร

References

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2553). [ออนไลน์]. นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์กับประเด็นการสื่อสารขององค์กรระดับโลกท่ามกลาง Social Network. [สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2564]. จาก

http://www.drphot.com/images/journal/2553.

ณัชพงศ์ พันธเกียรติไพศาลและดาว ไวรักษ์สัตว์. (2544). กลยุทธ์ทำการตลาดให้กับเว็บไซต์ (แปลจาก Web

Marketing Applied). กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอช.เอ็น. กรุ๊ป จำกัด

Highfield, T. (2016). Social Media and Veryday Politics Cambridge : CB2 1UR, UK

Taylor, M. and Kent, Michal L. (2010). Anticipating Socialization in the Use of Social Media

in Public Relations : a Content Analysis of PRSA’s Public Relations Tactics. Public Relations

Review, 36 PP 207-214.

ชมพูนุท นรินทรางกูล ณ อยุธยา. (2564). [ออนไลน์]. ความสัมพันธ์ระหว่างโชเชียลมีเดียและการ

ตอบสนองของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด. [สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2565]. จาก

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view//245927

พงศธร แสงมาลัย, สุภัชราภรณ์ สินประเสริฐ และวิชุดา ตรีเนตร์. (2562). การพัฒนาสื่อออนไลน์

Fanpage Facebook และLINE Offical Account เพื่อส่งเสริมการตลาดของร้านหอมกาแฟ.

ปริญญานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า

ภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อภิญญา ตั้งประสิทธิ์ศิลป์. (2562). [ออนไลน์]. ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลข่าวสารบนเฟซบุ๊กที่มีผลต่อ

พฤติกรรมการส่งต่อข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้สื่อสังคม ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สืบค้นวันที่ 19 กันยายน

. จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4495/3/apinya_than.pdf

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2562). [ออนไลน์]. สื่อสังคมออนไลน์ แหล่งข่าวยุคดิจิทัล. 9 ฉบับที่ 2

(กรกฎาคม- ธันวาคม 2562) : 4 [สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2564]. จาก https://e-jodil.stou.ac.th/

filejodil/20_1_667.pdf .

ณัฐพล พุ่มศิริ.(2563). แนวทางการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม.

วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อุไรวรรณ คำพิลา และทัฬห์ธีรดา นาคเสน. (2565). [ออนไลน์]. การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารระหว่าง

อาจารย์กับนักศึกษาผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม.

[สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2565]. จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JETA/article/

download/246483/167484/879387.

ขวัญฤทัย ศรีวัฒนพล. (2561). การจัดอีเวนท์ (Event) เพื่อการประชาสัมพันธ์ ยุค 4.0. วารสารพัฒนา

เทคนิคศึกษา สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 31

(108) ตุลาคม-ธันวาคม 2561.

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ ขจร ฝ้ายเทศ ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และวัลลภา จันทรดี. (2561). [ออนไลน์].

พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี. [สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2565]. จาก

https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9954.

สุภาพร นาคประพันธ์. (2563). [ออนไลน์]. การใช้และความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท

ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผ่านช่องทางการสื่อสาร Line official account. [สืบค้นวันที่ 24

กันยายน 2565]. จาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5094.

ณิชกุล เสนาวงษ์. (2564). [ออนไลน์]. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่น

แซดในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร. [สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2565]. จาก https://e-

research.siam.edu/kb/a-study-of-behavior-for-using-of-social-media/

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). [ออนไลน์]. อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. [สืบค้น

วันที่ 24 กันยายน 2565]. จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/download/

/102709/366570.

ปุณณรัตน์ พิงคานนท์ และพนารัตน์ ลิ้ม. (2565). [ออนไลน์]. รูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลกับการเรียนรู้ทาง

สังคมและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย. [สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2565].

จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/248793.