การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Main Article Content

เสาวลักษณ์ พิมพ์ภูลาด
ต้องลักษณ์ บุญธรรม

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปีการศึกษา 2565 จำนวน 286 คน ได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง


       ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ได้แก่ (1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์  (2) การคิดเชิงระบบและการคิดสร้างสรรค์ (3) การสื่อสารและโน้มน้าว  (4) การมีวิสัยทัศน์  (5) การทำงานเป็นทีม และ (6) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี ดังนี้ gif.latex?\chi^{2}= 525.03,  p-value = 0.107 gif.latex?\chi^{2}/df เท่ากับ 1.08 GFI เท่ากับ 0.91  RMR เท่ากับ 0.0096  RMSEA เท่ากับ 0.017  CFI เท่ากับ 1.00 และ SMSR เท่ากับ 0.026

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เสาวลักษณ์ พิมพ์ภูลาด, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ต้องลักษณ์ บุญธรรม, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

OECD.(2019).[online].The Future of Education and Skill 2030 Concept Note.Conceptual learning framework . Transformative Competencies For 2030.[10 may 2021] Form https://www.oecd.org/education/2030-project/teaching-and-learning/learning/ transformative competencies/Transformative_.

จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2564).[ออนไลน์] สาระทางวิชาการเรื่องบทบาทของผู้บริหารการศึกษายุคดิจิทัล. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564] จาก https://adacstou.wixsite.com/adacstou

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). [ออนไลน์]. รายงานเฉพาะเรื่องที่ 8 การปฏิรูปครูและอาจารย์. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564] จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1742-file.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานผลการสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2564).[ออนไลน์]. นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564] จาก https://drive.google.com/file/d/1aLuJP0U1hLo102ydh2GvngpMhiKlxiqx/view

สำนักข่าวอิสรา. (2563). [ออนไลน์] สตง.สอบคะแนนN-NET กศน. ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ [12 กรกฎาคม 2565] จาก https://isranews.org/article/isranews-news/94175-news05-

กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ สำนักงาน.กศน. (2563). [ออนไลน์]. รายงานการวิเคราะห์ปรับปรุงผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบ. [สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564] จาก (N-NET) ประจำปีงบประมาณ 2563 กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ สำนักงาน กศน. http://203.159.251.151/nfetesting/Doc/Download

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลริสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2562). กำหนดสมรรถนะการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดและกรุงเทพมหานคร.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2560). หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน. กรุงเทพมหานคร : รังสีการพิมพ์

ณัฏฐีรา มีจันทร์. (2562). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาในโครงการร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นสภาพที่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาครุศาสตรมหาบัณทิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา) กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.