การศึกษาการเพิ่มความชื้นในตู้แช่ด้วยชุดพ่นหมอก

Main Article Content

ปรีดี แสงวิรุณ

บทคัดย่อ

          ตู้แช่แต่ละประเภทมีการออกแบบการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นแตกต่างกัน การนำตู้แช่เครื่องดื่มมาปรับปรุงให้สามารถแช่ผักหรือดอกไม้ จำเป็นต้องเพิ่มความชื้นภายในตู้แช่ให้เหมาะสม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเปรียบเทียบวิธีเพิ่มความชื้นภายในตู้แช่ด้วยชุดพ่นหมอกอัลตราโซนิคและหัวพ่นหมอกแรงดันสูง โดยนำตู้แช่เครื่องดื่มแบบ 1 ประตู มาปรับปรุงติดตั้งชุดพ่นหมอกอัลตราโซนิคแบบ 3 หัว และติดชุดพ่นหมอกแรงดันสูง      1 หัว ใช้เครื่องตั้งเวลาควบคุมการพ่นหมอกในแต่ละครั้ง บันทึกค่าอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และ การใช้พลังงานไฟฟ้าทุกๆ 5 นาที เป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน


จากการทดลองพบว่า ที่ช่วงอุณหภูมิ 4-5 °C หัวพ่นหมอกแรงดันสูง สามารถเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายใน   ตู้แช่ได้ 60-70 %RH ใกล้เคียงกับชุดพ่นหมอกอัลตราโซนิคซึ่งเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ได้ 60-75%RH โดยหัวพ่นหมอกแรงดันสูงใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าชุดพ่นหมอกอัลตราโซนิค 11 % การเพิ่มความชื้นภายในตู้แช่ให้สูงขึ้นเหมาะสำหรับเก็บรักษาผักใบเขียวซึ่งอ่อนไหวกับการสูญเสียความชุ่มชื้นและสามารถประยุกต์ใช้เก็บรักษาดอกไม้ได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปรีดี แสงวิรุณ, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

สมคิด ยงหอม. (2554). การศึกษาสมรรถนะเครื่องแช่แข็งขนาดเล็กที่ใช้สารทำความเย็น R-22 กับ R-290. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

GE appliances factory service. (2023). [online].What is the average humidity level in a refrigerator?. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566]. จาก https://repair.geappliances.com/resources/ faq/article/ what-is-the-average-humidity-level-in-a-refrigerator

สายชล เกตุษา. (2531). เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของดอกไม้. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร ภาควิชาพืชสวน.

จริงแท้ ศิริพานิช. (2537). เอกสารประกอบการอบรม วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวทางพืชสวน ตอนที่ 1 สรีรวิทยาของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว. กรุงเทพมหานคร. : กรมฝึกหัดครู.

Kelley, K. M., Cameron, A. C., Biernbaum, J. A., & Poff, K. L. (2003). Effect of storage temperature on the quality of edible flowers. Postharvest Biology and Technology. Volume 27 Issue 3. pp. 341-344.

Janine Farias Menegaes, Ubirajara Russi Nunes Rogério AntônioBellé, Fernanda Alice Antonello Londero Backes. (2019). Post-harvesting of cut flowers and ornamental plants. Scientia Agraria Paranaensis. Vol. 18, No 4. pp. 313-323.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2559). [ออนไลน์]. หมวดที่ 10 : ระบบการทำความเย็น. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566]. จาก http://www2.dede.go.th/bhrd/old/web_display/websemple/ Industrial(PDF)/Bay29%20Refrigeration.pdf

นิธิยา รัตนาปนนท์ และดนัย บุณยเกียรติ. (2537). การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้. กรุงเทพมหานคร :โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศตวรรษ กสิบุตร. (2562). การเพิ่มความชื้นโดยใช้เครื่องพ่นหมอกอัลตน้าโซนิคที่มีผลต่อสัมประสิทธ์ิสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล. มหาวิทยาลัยสยาม.

การไฟฟ้านครหลวง. (2566). [ออนไลน์]. อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566]. จาก https://www.mea.or.th/our-services/tariff-calculation/other/ D5xEaEwgU

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2556). [ออนไลน์]. บทที่ 8 ความชื้นในอากาศ (Humidity). [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566]. จาก http://www.geog.pn.psu.ac.th/CAIClimate/8Humid49.pdf