การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อปรับพื้นฐานความเป็นช่างสำหรับนักศึกษาใหม่ โดยใช้ชุดการเรียนออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน สำหรับการปรับพื้นฐานความเป็นช่างของนักศึกษาใหม่ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต 2) ศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยใช้ชุดการเรียนออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน สำหรับการปรับพื้นฐานความเป็นช่างของนักศึกษาใหม่ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาใหม่หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) สาขาไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งเป็นนักศึกษาในชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษาที่ 1/2564 จำนวนทั้งหมด 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) และเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพของชุดการเรียนออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อปรับพื้นฐานความเป็นช่างสำหรับนักศึกษาใหม่ โดยใช้ชุดการเรียนออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยภาพรวมผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ามีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด และมีคุณภาพด้านเทคนิคอยู่ในระดับมาก และ 2) กิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้ชุดการเรียนออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน สำหรับการปรับพื้นฐานความเป็นช่างของนักศึกษาใหม่ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มีประสิทธิภาพ 84.33/85.15
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บังอร เสรีรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร.วารสาร e-JODIL. 7. (2), 164-181.
คู่มือหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต(หลักสูตร 4ปี) สาขาวิชาไฟฟ้า(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563). (2563). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
รายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร.(2562). หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
เศณวี ฤกษ์มงคล (2560). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended Learning) วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่9, วันที่ 8-9 สิงหาคม 2560. (หน้า 838-853).
มนตรี แก้วอยู่ และบุษราคัม ทองเพชร (2564). การศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมเสริม หลักสูตรโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่องการปรับพื้นฐานความเป็นช่าง สำหรับนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรมในยุคThailand 4.0. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 33 (117), 27- 36.
พันธ์ศักดิ์ พุฒิมานิตพงศ์. (2555). วงจรดิจิตอล1. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.
มงคล ทองสงคราม. (2541). เครื่องวัดอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า. กรุงเทพมหานคร : วี.เจ.พริ้นเตอร์.
ภาณุวัฒน์ วรพิทย์เบญจา และคณะ (2564). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 8 (2), 58-67.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางคอมพิวเตอร์ศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.