การพัฒนารูปแบบศักยภาพของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาภาครัฐ เพื่อการแข่งขันในยุคอุตสาหกรรม 4.0

Main Article Content

อนุชา กาญจนกุลไพศาล
วรกมล วิเศษศรี
ปรีดา อัตวินิจตระการ

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบศักยภาพของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาภาครัฐ เพื่อการแข่งขันในยุคอุตสาหกรรม 4.0 และ 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาภาครัฐ เพื่อการแข่งขันในยุคอุตสาหกรรม 4.0 การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการด้วยระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยแบบผสม ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ จะใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์มีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ จะใช้แบบสอบถามให้ผู้บริหารระดับหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาภาครัฐ จำนวน 195 คน แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบ เพื่อจัดทำรูปแบบศักยภาพของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาภาครัฐ เพื่อการแข่งขันในยุคอุตสาหกรรม 4.0


             ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบศักยภาพของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาภาครัฐ เพื่อการแข่งขันในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบด้วย 13 องค์ประกอบ เพื่อแบ่งเป็นรูปแบบสมรรถนะ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ (Knowledge) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 หลักเกณฑ์มาตรฐานการผลิต องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบที่ 2 ความเข้าใจสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมยา และองค์ประกอบที่ 3 ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 4.0 2) ด้านทักษะ (Skills) มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การคิดอย่างมีระบบ (Analytical and Systematic Thinking)องค์ประกอบที่ 2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 4.0 องค์ประกอบที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ องค์ประกอบที่ 4 การประเมินศักยภาพของพนักงาน องค์ประกอบที่ 5 การส่งเสริมแนวคิดเชิงนวัตกรรม องค์ประกอบที่ 6 การบริหารทรัพยากร และองค์ประกอบที่ 7 การรักษาพนักงานในตำแหน่งงานหลัก และ3) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attribute) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนค่านิยมองค์กร (Core Value) องค์ประกอบที่ 2 พร้อมเปิดรับการเปลี่ยนแปลงในองค์กร (Fostering Agility)องค์ประกอบที่ 3 ความจงรักภักดีต่อองค์กร (Organizational Loyalty)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อนุชา กาญจนกุลไพศาล, คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร

วรกมล วิเศษศรี, คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปรีดา อัตวินิจตระการ, คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

อาจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564). [ออนไลน์]. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมยา. [สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2565]. จาก https://www.krungsri.com/getmedia/eeaff948-1abf-46e1-856c-734a2210fb76/IO_Pharmaceutical_210830_TH_EX.pdf.aspx

Mario Hermann. (2016). [ออนไลน์]. Design Principles for Industrie 4.0 Scenarios. [สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2565]. จาก https://ieeexplore.ieee.org/document/7427673?arnumber=7427673& newsearch =true&queryText=industrie%204.0%20design%20principles

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2563). [ออนไลน์]. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 – 2564. [สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2565]. จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFO CENTER19/DRAWER039

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2541). การบริหารงานแบบคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : เอเชียเพรส.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร : เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ฐนกร บุญจันทร์. (2558). รูปแบบภาวะผู้นำของหัวหน้าฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Muddukrishna B S and Other. (2018) Importance of Competency level and its assessment in Pharmaceutical Industry. Research J. Pharm. and Tech. 11(1): January 2018.

มุจรินท์ บุรีนอก. (2557). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรระดับหัวหน้างานสายการผลิตกลุ่มโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สรวงอัยย์ อนันทวิจักษณ์. (2558). การพัฒนาพลังเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสายการผลิต อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มุจรินท์ บุรีนอก. (2557). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรระดับหัวหน้างานสายการผลิตกลุ่มโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อำนวย อภิชัยนันท์. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในองค์กรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ