ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของกลุ่มครูช่างอุตสาหกรรมผู้เกษียณอายุให้สามารถประกอบอาชีพเสริมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

Main Article Content

เจตริน กายอรุณสุทธิ์
กุลทรัพย์ ทองประสิทธิ์
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะของกลุ่มครูช่างอุตสาหกรรมผู้เกษียณอายุให้สามารถประกอบอาชีพเสริมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มครูช่างอุตสาหกรรมที่เกษียณอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2564 จำนวน 38 คน และกลุ่มครูช่างอุตสาหกรรมที่จะเกษียณอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ถึงปี พ.ศ. 2569 จำนวน 78 คน รวมทั้งหมดจำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะ ด้านความรู้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมมีความต้องการเพิ่มพูนความรู้การสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด   รองลงมาการใช้ Facebook Marketing ในการส่งเสริม e–Business   และเทคนิควิธีการถ่ายภาพสินค้าให้สวยงามอยู่ในระดับมาก สำหรับความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมมีความต้องการเพิ่มพูนทักษะวิธีการใช้ Facebook Marketing ในการส่งเสริมธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business)   มากที่สุด รองลงมาวิธีการใช้เครื่องมือพื้นฐานของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์  และวิธีการโพสต์ขายสินค้าในรูปแบบคลิปวิดีโอ การถ่ายภาพ การตกแต่งภาพให้สวยงาม   ซึ่งอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ข้อ ในขณะที่ความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมมีความต้องการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ความกล้าคิด กล้าทำสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและบุคคลอื่นมากที่สุด รองลงมาความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี และความอ่อนน้อมถ่อมตน   ซึ่งอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ข้อ นอกจากนี้ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของความต้องการพัฒนาสมรรถนะของกลุ่มครูช่างอุตสาหกรรมผู้เกษียณอายุให้สามารถประกอบอาชีพเสริมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล พบว่า โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เจตริน กายอรุณสุทธิ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร

กุลทรัพย์ ทองประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). [ออนไลน์]. สรุปจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุราชการ. [สืบค้น 12 พฤษจิกายน 2564]. จาก https://otepc.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สำรวจการมีกีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ. (2564). [ออนไลน์]. การเสริมทักษะอาชีพใหม่หรืออาชีพทางเลือก และรายได้ของผู้สูงอายุในประเทศไทย. [สืบค้นวันที่ สืบค้น 11 สิงหาคม 2564]. จาก https://opec.go.th/dop-book-2564/

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2564). แนวทางสินค้าออนไลน์: จากชุมชนสู่คนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา ยืนหยัดชัดเจน.

D.C. McClelland. (1973). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence.” American Psychologists. Vol.17 : 1-14.

K. Thongprasit. Competency Development for Personnel Responsible for Energy Management in Textile Industry under the Ministry of Energy. Ph.D. thesis, Industrial Business and Human Resource Development, Graduate School, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2020. (in Thai).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร : บิซิเนสอาร์แอนด์ดี.

อารีย์ มยังพงษ์. (2561). รูปแบบสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager: A model for Effective Performance. New York : John Wiley & Sons.

K. Thongprasit. (2022). Approaches for competency development of workforces in the manufacturing and service industry sector, eastern economic corridor (EEC): A case study of industrial land in Rayong province in Thailand. Journal of Management Information and Decision Sciences, 25(3), 1-18.