การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาการงานอาชีพเรื่องขนมไทย โดยใช้สื่อเสมือนจริง (Augmented Reality -AR) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบสื่อเสมือนจริง (AR) และพัฒนาสื่อการสอนในวิชาการงานอาชีพเรื่อง ขนมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/11 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อน และหลังเรียนหลังจากการใช้สื่อเสมือนจริง AR เรื่องขนมไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนโดยการใช้สื่อเสมือนจริง AR เรื่องขนมไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/11 ที่เรียนวิชาการงานอาชีพ จำนวน 20 คน
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อเสมือนจริง AR เรื่องขนมไทย อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ติดตั้งแอปพลิเคชั่นเทคโนโลยีเสมือนจริง และมีสัญญาณอินเทอร์เน็ต แบบประเมินความพึงพอใจการใช้สื่อเสมือนจริง AR เรื่องขนมไทย และแบบประเมินวัดคุณภาพสื่อAR โดยวิธีการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน และให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเมื่อนักเรียนได้เรียนบทเรียนเรื่องขนมไทย โดยใช้สื่อเสมือนจริง AR
ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อที่สร้างมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เรื่องขนมไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เรื่องขนมไทยพบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุภาภรณ์ เผ่นโผน. (2561). การแก้ปัญหานักศึกษาไม่สนใจเรียนวิชาหลักการบัญชีเบื้องต้น 1 ของนักศึกษาห้อง ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)1/13 กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทยาพณิชยการ.
ณัฐกานต์ ภาคพรต และ หทัยรัตน์ ศรีสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 9(3). 15-23.
สานนท์ เจริญพันธุ์. (2561) เด็กไทยติด “สมาร์ทโฟน” กับดักเทคโนโลยีบนความอยาก. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565]. จากhttp://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=955000015763
SciMath. (2560). รู้จักเทคโนโลยี AR ‘ความจริงเสริม’ โลกเสมือนมาเจอชีวิตจริง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565]. จาก https://www.thairath.co.th/content/828113
Ronald T. (1997) A Survey of Augmented Reality. Teleoperators and Virtual Environments, 6(4), 355-385.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2556). การพัฒนารูปแบบชุดการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง(Augmented Reality). วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Yuen, S.; Yaoyuneyong, G.;& Johnson, E. (2011) Augmented Reality : An overview and five directions for AR in education. Journal of Educational Technology Development and Exchange, 4 (1). 119-140.
Dunleavy, M & Dede, C. (2014). Augmented Reality teaching and learning. [Internet] Retrieved Harvard University from Website [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565]. จาก
http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic1116077.files/DunleavyDedeARfinal.pdf;
อุบล ทองปัญญา. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผนวกวิธีการสอนบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกรียงไกร พละสนธิ. (2559). การพัฒนารูปแบบคลาวด์เลิร์นนิงแบบสะตีมด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.