การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งผลสัมฤทธิ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ต้องการนําเสนอรูปแบบจัดการจัดการสอนของผู้เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งผลสัมฤทธิ์นตลอดจนการจัดการเรียนการสอนนั้นเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการป้องกันและการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และสถิติให้แก่ผู้เรียน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง บุคคลที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีความสามารถในการคิด ตีความและตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูลทางคณิตศาสตร์ในบริบทสถานการณ์ในชีวิตจริง
แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจนำมาใช้ในการแก้ปัญหาอีกแนวทางหนึ่งคือการเรียนรู้แบบร่วมมือซึ่งเป็นวิธีการสอนที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนและมีความรับผิดชอบร่วมกันทำให้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นด้วยเทคนิค STAD หรือวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือและการสอนรายบุคคล จากแนวทางการจัดการเรียนการสอนข้างต้นเป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการจัดการเรียนสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเทคนิค STAD เป็นกิจกรรมการเรียนที่ผสมผสานการเรียนรู้ผู้เรียนได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันผู้เรียนที่เก่งได้ช่วยเหลือเพื่อนที่อ่อนกว่า ด้วยเหตุนี้การจัดการเรียนรู้ดังกล่าวจึงมีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาการป้องกันและการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และสถิติให้แก่ผู้เรียนโดยจะเป็นการเพิ่มทักษะ การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความคงทนในการเรียนรู้ ทักษะในการอ่าน ทักษะในการแก้ไขปัญหา ความภาคภูมิใจในตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สสวท., 42(188), 3-6.
Kaiser, G., & Willander, T. (2005). Development of mathematical literacy: Results of an empirical study. An International Journal of the IMA, 24(2/3), 48-60.
Moonkham, Suwit. (2005). Strategies-Teaching Integrative Thinking. Bangkok: Duangkamon Samai.
เรวดี ศรีสุข. (2562). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) ในการออกแบบจัดการเรียนการสอน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 2(1), น. 5-16.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพิ์การศาสนา. กรมศาสนา.
Tiantong, M., and Teemuangsai, S., (2013). Student team achievement divisions (STAD) technique through the moodle to enhance learning achievement. International Education Studies 6: 85–92.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Johnson, D. W., & Johnson, F. P. (2013). Joining together: Group theory and group skills. (11rded.). Prentice-Hall.
Slavin, E Robert. (1989). STAD. Journal of Research and Development in Educational, 60(7), 42-48.
Khamanee, Thassana. (2013). Pedagogical science. Bangkok: Publishing House of Chulalongkorn University.
พรพรรณ ลุนอุบล. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWL หน่วยการเรียนรู้ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 9(3), 25-26.
Ministry of Education. (2017). Indicators and learning subjects in the core of mathematics learning subject groups. (Revised Edition B.E. 2560) According to the Core Curriculum of Basic Education B.E. 2551 (2008). Bangkok: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai Co., Ltd.
Saijam, P. and Seebut, S. (2017). Using problem approach to design mathematical modeling-based learning for promoting grade 8 students mathematical modeling competency. Proceedings of the 22nd Annual Meeting in Mathematics (AMM2017). Chiangmai: Chiangmai University.
Thamanet, R., Dhillon, S., Saggar, S., Gupta, M., & Kaur, H. (2013). Promoting active learning in respiratory physiology –Positive student perception and improved outcomes. Natl J Physiol Pharm Pharmacol, 3(1), 27-34.