ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบินในยุค Disruptive Technology ของครูวิชาภาคพื้น สถาบันการบินพลเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบินในยุค Disruptive Technology ของครูวิชาภาคพื้น สถาบันการบินพลเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบินในยุค Disruptive Technology โดยในการศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ส่วนกระบวนการเทคนิคเดลฟาย ประชากร คือ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 2 ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ประชากรที่ใช้คือ ครูวิชาภาคพื้น จำนวน 114 คน กลุ่มตัวอย่างคือ 110 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิชนิดมีสัดส่วน และการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ส่วนกระบวนการเทคนิคเดลฟาย คณะผู้วิจัยพบว่าค่ามัธยฐานของทุกข้อคำถามมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยมมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 แสดงว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อข้อคำถามนั้นมีความสอดคล้องกัน และระยะที่ 2 ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบ คณะผู้วิจัยพบว่าโมเดลการวัดตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบินในยุค Disruptive Technology ของครูวิชาภาคพื้น สถาบันการบินพลเรือน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ ที่แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-square = 11.011, df = 8, p = .201 ) เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปร พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมดมีค่าเป็นบวก มีค่าตั้งแต่ .430 ถึง .539 โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัว ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวมีค่าขนาดใกล้เคียงกัน แสดงให้เห็นว่าตัวแปรเหล่านี้มีความสำคัญในการวัดตัวแปรภาวะผู้นำ (LED) ใกล้เคียงกัน ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบินในยุค Disruptive Technology ของครูวิชาภาคพื้นสถาบันการบินพลเรือน
สรุปได้ว่า ตัวแปรแฝงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบินในยุค Disruptive Technology ของครูวิชาภาคพื้น สถาบันการบินพลเรือน สามารถวัดได้ด้วยตัวแปรสังเกตได้ดังกล่าว นั่นคือ ตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการบินในยุค Disruptive Technology ของครูวิชาภาคพื้น สถาบันการบินพลเรือน มีความตรงเชิงโครงสร้าง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. (2558). คู่มือครูพระราชทาน สอนทางไกลผ่านดาวเทียม สำหรับโรงเรียนปลายทาง โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียน วังไกลกังวล ภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพมหานคร: สยามพริ้น.
Suarez G. and Hirshberg J. (1981). The Leader as a Catalyst of Change. Leadership. Penguin Books.
Fullan, M. (2001). The new meaning of educational change (3rd edition). New York: Teachers College Press.
Warren, K. (2001). Social justice speak out. Ziplines, 42, 36–38.
Welch, J. (2001). Jack: Straight from the gut. New York: Warner Books.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย 1. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: โรงพิมพ์พีเอส. พริ้นท์.
Heimut M. (1995). Leadership in Action. New York: McGraw – Hill.
Snyder N. (1994). Vision, Values and Courage. New York, Free Press.
อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง: เปลี่ยนความท้าทายมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์การอย่างยั่งยืน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(1),845-860.
สมมารถ สูรโรคา. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นารินทร์ เดชสะท้าน ชัยยนต์ เพาพาน และศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1(3), 83-99.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). เปลี่ยนมุมมองการบริหารองค์กรการศึกษาในโลก Disruptive. วารสาร บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(2), 248-250.
ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 217-225.