การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้นวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้นในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบที่สร้างขึ้นในด้านค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยงตรง และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 3) เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและ 4) สร้างคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัย กลุ่มตัวอย่างการวิจัย เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 1,061 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้นวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้น ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ความตรงตามสภาพสูตรสหสัมพันธ์ของเพียร์สันมีค่าอยู่ระหว่าง 0.72–0.95 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ค่าความยากชั้นที่ 1 ร่วมกับชั้นที่ 2 ร่วมกับชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 มีค่าอยู่ระหว่าง 0.38 – 0.44 ค่าอำนาจจำแนกของ Whitney And Sabers มีค่าตั้งแต่ 0.50 – 0.63 ค่าความเชื่อมั่นสูตรของ Livingston มีค่าอยู่ระหว่าง 0.91– 0.97 คะแนนจุดตัดหาโดยวิธีของ Angoff เท่ากับ 13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ผลการวินิจฉัย พบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่ถูกต้องมากที่สุด เรื่อง การหากำลัง มโนทัศน์ที่ไม่เข้าใจแนวคิดมากที่สุด เรื่อง ความหมายของพลังงานจลน์ มโนทัศน์เข้าใจแนวคิดผิดมากที่สุด เรื่อง การเปลี่ยนรูปพลังงานตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน และมโนทัศน์ที่มีความผิดพลาดมากที่สุด เรื่อง ความหมายของแรงอนุรักษ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วัจนารัตน์ ควรดี และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 27(93), 12-20.
พจนา เปี่ยมถาวรพจน์. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนภูมิมโนมติกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรพินท์ ชื่นชอบ. (2549). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยเสริมการแก้ปัญหาตามเทคนิคของโพลยา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). [ออนไลน์]. ระบบประกาศผลสอบ o-net. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562]. จาก https://www.niets.or.th/th/
จิตรารมภ์ ทองนิ่ม. (2530). มโนทัศน์ทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. ภาควิชามัธยมศึกษา. บัณทิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Wijaya. (2016). The Diagnosis Of Senior High School Class X Mia B Students Misconceptions About Hydrostatic Pressure Concept Using Three-Tier. Science Education Study Program Fmipa Unnes Semarang. 5(1): 14-21.
สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2561). [ออนไลน์]. วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562]. จาก http://sripatum-review.spu.ac.th/doc/51_19-09-2018_16-29-43.pdf
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรา ชุณสนิท. (2558). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความเข้าใจการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดิ์ดา กิ่งโก้. (2560). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยแบบสี่ชั้นและตัวแบบกิจกรรมการปรับลดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.