โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในการพัฒนาครูของข้าราชการครู ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาครู ของข้าราชการครูเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาครู กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาครู ของข้าราชการครูเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการครูในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาครู จำนวน 1 ฉบับ และแบบวัดความรู้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน 1 ฉบับ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS หาค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุ โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาครู ของข้าราชการครูเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 157.17, df =126, p = .0000, / df = 1.25 , RMSEA = .023, CFI = .96, SRMR = .043) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อทัศนคติต่อการใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.39 ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กรมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.34 และปัจจัยด้านความสุขในการทำงาน
มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.25 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-
สฤษดิ์วงศ์.
สุมาลี สังข์ศรี. (2544). รายงานการวิจัย "การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2555). [ออนไลน์]. Leadership : ผู้นำสถานศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561]. จาก http://suthep.ricr.ac.th
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (ม.ค.-เม.ย. 2559). คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบท การศึกษาไทย. Panyapiwat Journal, 48(1), 163-175.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. [ม.ป.พ.]
ณรงค์ ขุ้มทอง. (2560). [ออนไลน์]. PLC มิติใหม่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการศึกษาไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561]. จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_484184
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์; และคณะ. (2545). รูปแบบเครือข่ายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู.
สุธิมา เทียนงาม (2546). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิจัยการศึกษาครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวีณา เจริญภูมิ (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. กรุงเทพฯ.
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ชุลีพร เกลี้ยงสง (2558). กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. หลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. กรุงเทพฯ.
ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพแนวทางการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 34(2), 164-171.
ชูเกียรติ ยิ้มพวง. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานกรณีศึกษา บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด โรงงานจังหวัดปทุมธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ไพฑูรย์ ธรรมนิตย์. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ภาควิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Brown, W. B., & Moberg, D. J. (1980). Organization theory and management: A macro approach. New York: Wiley.
สุทธิพงษ์ เกียรติวิชญ์. (2561). แบบจำลองอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมต่อการรักษาพนักงาน : บทบาทของการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกและผู้นำ ความไว้วางใจในผู้บริหาร และเสียงของพนักงานในฐานะตัวแปรคั่นกลาง. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(2),366-380.
Kingsbury, J. B. (1963). Personnel Administration for Thai Student. Bangkok: Institute of Public Administration.
รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุข กรณีศึกษา นักศึกษาภาคพิเศษ ระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สารนิพนธ์คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive work place. Journal of Nursing Administration, 33(12),652-655.