สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับครูอาชีวศึกษา ด้านช่างอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้

Main Article Content

พิชิต เพ็งสุวรรณ
วาสณา บุญส่ง
ปิยะ ประสงค์จันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับครูอาชีวศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูอาชีวศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนช่างอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ โดยประชากรเป็นครูผู้เชี่ยวชาญสายช่างอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติงานในสถาบันอาชีวศึกษาในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ 15 คน ขนาดกลาง 14 คนและขนาดเล็ก 14 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บข้อมูล จะใช้การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากค่าเฉลี่ยและร้อยละ


          ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของครูผู้เชี่ยวชาญด้านช่างอุตสาหกรรม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในปัจจุบัน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ มีการจัดการเรียนรู้ 6 วิธี ส่วนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ควรให้ผู้สอนในสถาบันอาชีวศึกษาสายช่างอุตสาหกรรมได้รับการพัฒนามากที่สุด มี 7 วิธี ดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด 2) การจัดการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน 3.) เทคนิคห้องเรียนจิ๊กซอว์ 4) การอภิปราย 5) การสอนโดยเพื่อน 6) การเรียนโดยโครงงาน และ 7) กรณีศึกษา ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลที่จะนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อพัฒนาครูผู้สอนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พิชิต เพ็งสุวรรณ

สาขาวิชาอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

วาสณา บุญส่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  

ปิยะ ประสงค์จันทร์

สาขาวิชาไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  

References

หน่วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์. (2564) [ออนไลน์]. ประเทศไทย ยุค 4.0 เป็นอย่างไร.[สืบค้นเมื่อวันที่ 23

มิถุนายน 2564] จาก http://ced.sci.psu.ac.th/km/km/experience-km/2560/thailand4.0

Elizabeth F. Barkley, C. H. (2014). Collaborative learning techniques: a handbook for

college faculty. San Francisco: Jossey-Bass.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560).แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579.กรุงเทพมหานคร : พริก

หวานกราฟฟิค.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2562). หลักสูตรปวช. พ.ศ.2562. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15

มิถุนายน 2564] จาก https://bsq.vec.go.th/th-th/หลักสูตร/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช)/หลักสูตร

ปวชพศ2562.aspx

Alseddiqi, M., Mishra, R., & Abdulrasool, S. M. (2010). Improving teaching and learning

effectiveness in engineering education. International Journal of Learning, 17(9), 11–26.

(Retrieved 12, May 2021) from https://doi.org/10.18848/1447-9494/cgp/v17i09/47250.

Jabarullah, N. H., & Iqbal Hussain, H. (2019). The effectiveness of problem-based learning

In technical and vocational education in Malaysia. Education + Training, 61(5), 552–567.

(Retrieved 15, July 2021) from http://10.0.4.84/ET-06-2018-0129

Viswambaran, V. K., & Shafeek, S. (2019). Project Based Learning (PBL) Approach for

Improving the Student Engagement in Vocational Education: An investigation on students‘

learning experiences amp; achievements. 2019 Advances in Science and Engineering

Technology International Conferences (ASET), 1–8. (Retrieved 12, May 2021) from

https://doi.org/10.1109/ICASET.2019.8714463

Whittington, M. S. (2005). The Presidential Address to the Association for Career and

Technical Education Research: Using Standards to Reform Teacher Preparation in

Career and Technical Education: A Successful Reformation. Career and Technical

Education Research, 30(2), 89–99.

ทิศนา แขมมณี (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559).วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.