การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว

Main Article Content

ชนัฐวัฒน์ ศิริเอี้ยวพิกูล
ธนภพ โสตรโยม

บทคัดย่อ

       การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว 2) ศึกษาปริมาณปริมาณที่เหมาะสมในการใช้รากบัวเสริมในเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวและเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐาน และ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อตำรับอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และผู้บริโภคจำนวน 30 คน


       ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว พบว่า เมื่อนำเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐานทั้ง 3 สูตร มาทดสอบประสาทสัมผัส พบว่า ผู้เชี่ยวชาญชิมทั้ง 5 ท่านได้ให้ความชอบเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐานทั้ง 3 สูตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนสูตรที่ 2 มากที่สุด ซึ่งมีส่วนผสมของถั่วเหลือง 50 กรัม ถั่วลันเตา 60 กรัม ถั่วขาว 40 กรัม เห็ดหอม 10 กรัม และบีทรูท 5 กรัม เนื่องจากมีกลิ่นหอมและรสที่ดีกว่าสูตรที่ 1 และสูตรที่ 3 จึงทำการเลือกสูตรที่ 2 เพื่อทำการทดสอบในขั้นต่อไป 2) ศึกษาปริมาณปริมาณที่เหมาะสมในการใช้รากบัวเสริมในเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว พบว่า ได้จากการศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว มาเสริมรากบัวในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 15 และ 20 ทำการทดสอบการยอมรับโดยผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัส จำนวน 30 คน การเสริมรากบัวในอัตราส่วน 10 : 100 ได้รับการยอมรับมากที่สุด 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวและเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐาน พบว่า ปริมาณไฟเบอร์ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วทั้ง 2 สูตร หลังจากใช้โปรแกรมคำนวณอาหาร INMUCAL - Nutrients 4.0 พบว่า องค์ประกอบในด้านเส้นใยอาหารและโปรตีน ในสูตรพัฒนามีปริมาณมากกว่าสูตรพื้นฐานและ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อตำรับอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีความชอบมาก 2 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านรูปร่างและด้านสี ส่วนด้านรสชาติ ด้านกลิ่น ด้านเนื้อสัมผัสและด้านความชอบโดยรวมอยู่ในระดับคะแนนยอมรับชอบปานกลาง และร้อยละ 93.33 ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว  และหาการยอมรับของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการนำเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวไปใช้ปรุงอาหาร โดยวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสมกับเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวโดยใช้ 4 วิธีการปรุงคือ การต้ม คือ เมนูต้มจืด การผัด คือ เมนูผัดพริกเกลือ การแกง คือเมนูแกงเขียวหวานและการทอด คือ เมนูทอดเกลือ โดยการทอดได้รับการยอมรับมากที่สุดโดยมีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชนัฐวัฒน์ ศิริเอี้ยวพิกูล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ธนภพ โสตรโยม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร. (2563). [ออนไลน์]. แนะผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อหมูสะอาด ปลอดสารเร่งเนื้อแดง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564]จาก : https://www.siamoutlook.com/2020/12/blog-post_47.html,

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. (2563). [ออนไลน์]. โปรตีนเกษตรหรือเนื้อเทียม. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564.] เข้าถึงได้จาก : http://www.ifrpd.ku.ac.th/th/products/ifrpd-protein.php.

จิระประภา เอี่ยมสะอาด. (2560). แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ รากบัวอบกรอบเพื่อสุขภาพ ตรานูเทรียนรูท. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิขาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ซาบีเนาะ มะเระ วนิดา คำหอม สุรารักษ์ แซ่จอง และฐิติมาพร หนูเนียม. (2565). [ออนไลน์]. การศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์โรตีกรอบจากแป้งกากถั่วเหลืองรสเครื่องแกงมัสมั่น. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://ird.skru.ac.th/,

วีรยา ศรีอิทธิยาเวทย์. (2562). การปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการของเนื้อสัตว์เทียม โดยเสริมแป้งถั่วขาวและแป้งแก่นตะวัน. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นักสิทธ์ ปัญโญใหญ่. (2563). โปรตีนจากพืช : คุณค่าโภชนาการ โครงสร้าง คุณสมบัติเชิงหน้าที่ และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร. วารสาร RAJABHAT AGRIC. 19(1): 61 – 69.