การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป

Main Article Content

วิจิตรา สรรพอาษา
ธีรวัช บุณยโสภณ
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
ปรีดา อัตวินิจตระการ

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร ในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป เครื่องมือในงานวิจัยที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และการประชุมสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดแบบสอบถาม ใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


       ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การบริหารธุรกิจประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ การควบคุมต้นทุน การบริหารองค์กร และโลจิสติกส์ 2) การผลิต ประกอบด้วย กระบวนการ และการตรวจสอบคุณภาพ 3) การตลาด ประกอบด้วย การนำเสนอสินค้า และการกระตุ้นยอดขาย  4) อัตลักษณ์ตราสินค้า ประกอบด้วย การสร้างความแตกต่าง และการสร้างมูลค่าสินค้า 5) การออกแบบ ประกอบด้วย การออกแบบเฉพาะกลุ่ม และการออกแบบตามเทรนด์แฟชั่น 6) ภาวะผู้นำประกอบด้วย จริยธรรม และนวัตกรรม 7) มนุษยสัมพันธ์ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ภายในองค์กร และความสัมพันธ์ภายนอกองค์กร  คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้ 1) การแนะนำคู่มือ 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป รูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม และคู่มือแนวทางการพัฒนาพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวม และมีความเหมาะสมในระดับร้อยละ 90

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิจิตรา สรรพอาษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ธีรวัช บุณยโสภณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สุภัททา ปิณฑะแพทย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปรีดา อัตวินิจตระการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

อาจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). [ออนไลน์]. แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขา อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. [สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564.]. จาก: https://www.sme.go.th/,

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2560). [ออนไลน์]. ส่อง TREND โลก: ก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโลก. [สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564]. จาก: https://www.ryt9.com/s/,

กรกนก จรัสหิรัญปรีดา. (2553). กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของวิสาหกิจเครื่องนุ่งห่มขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเพื่อความสามารถในการแข่งขัน. วารสารวิจัยและพัฒนา. 2 (2), 90-97.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2564). [ออนไลน์]. จำนวนผู้ประกอบการประเภทการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และจำนวน ผู้ประกอบการประเภทค้าปลีกเสื้อผ้าสำเร็จรูป. [สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564]. จาก: https://datawarehouse.dbd.go.th/,

Glock, R. E., & Kunz, G. I. (2005). Apparel Manufacturing: Sewn Product Analysis. 4th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

จุฑามาศ พีรพัชระ และคณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6 (2), 165-176.

ปิยาพร ห้องแซง. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานสาขาธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วนิดา ศักดิ์สงวนมนูญ. (2555). [ออนไลน์]. อนาคตสิ่งทอไทย ร่วงหรือโรจน์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ การค้าสินค้าอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ. [สืบค้นเมื่อ14 มิถุนายน 2564.]. จาก: http://www.tpso.moc.go.th/,

ลัดดาวัลย์ เลขมาศ และแพรวพรรณ อินทรเกษม. (2562). แนวทางพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 39 ฉบับที่ 2, หน้า 104-122.

บุรินทร์ พุทธโชติ. (2563). [ออนไลน์]. อนาคตอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยสู่ยุค “New Normal”. [สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564]. จาก: http://rlc.nrct.go.th/,

รัตนา อัตภูมิสุวรรณ์ และธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2564). แนวทางการบริหารธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วยวิถีพุทธสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยนครพนม. 11(11), 160-175.

รุ่งนภา นาพงษ์. (2557). [ออนไลน์]. ส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของกลุ่มวัยทำงานในเขตเทศบาล ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. [สืบค้นเมื่อ10 มิถุนายน 2564]. จาก: http://digital_collect. lib.buu.ac.th/,

Aaker, D. A. (1996). Building a strong Brand. New York: The Free Press.

Bangkok Bank SME. (2021). [ออนไลน์]. จบยุค Fast Fashion สู่เทรนด์ยั่งยืนที่ผู้ผลิตต้องตามให้ทัน. [สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564]. จาก: https://www.bangkokbanksme.com/,

วุฒิชัย ผาสุกกานนท์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการปฏิกิริยาเชิงสะท้อน. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9 (2), 122-134.

Tiger. (2019). [ออนไลน์]. รูปแบบการบริหารธุรกิจที่คุณสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง. [สืบค้นเมื่อ16 พฤษภาคม 2564]. จาก: https://thaiwinner.com/,