การศึกษาสภาพการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อเข้าสู่โรงเรียนอนุบาลของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

บุญญลักษม์ ตำนานจิตร
สายสุดา ปั้นตระกูล

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อเข้าสู่โรงเรียนอนุบาลของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์คำถามปลายเปิด   


       ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย มีประสบการณ์การทำงานดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 10 ปีขึ้นไป และสังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดเล็ก ไม่เกิน 50 คน การดำเนินการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการช่วยเหลือเด็กเล็กในการปรับตัวทางสังคมและความพร้อมทางการเรียนเพื่อเข้าสู่ระดับอนุบาล โดยการจัดกิจกรรมเพื่อปรับพื้นฐานและเตรียมความพร้อมสู่ระดับอนุบาลให้กับเด็กเล็ก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

บุญญลักษม์ ตำนานจิตร, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

สายสุดา ปั้นตระกูล, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

References

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2558). [ออนไลน์]. ปฐมวัยรากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564]. จาก www.qlf.or.th/ Home/ Contents/1009.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2557). รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็กประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 42 (3), 143-159.

Singh, S. (2013). Effective transitioning practice from early childhood centres to primary school. Teltikahurangi School of Education e-Journal. Vol.1. 87-92.

Santrock, J. W. (2009). Life-span development (12th Edition). New York, NY: McGraw-Hill Higher Education.

กุลชา ลี้ไพโรจน์กุล. (2555). สภาพและปัญหาการดำเนินงานของโรงเรียนในการเชื่อมต่อการศึกษาระดับอนุบาลกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Early, D. M., Pianta, R. C., Taylor, L. C., & Cox, M. J. (2001). Transition practices: Findings from a nationsl survey of kindergarten teachers. Early Childhood Education Journal. Vol.28 Issue 3. 199-206.

Einarsdottir, J. (2003). [Online]. Toward a smooth transition from preschool to primary school in Iceland. [Retrieved 10 March 2021] from http://www.leeds.ac.uk/educol/ documents/ 00003302.htm.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564]. จาก http://www.oic.go.th.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed). New York: Harper and Row.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. M. Cole, V.John-Steiner, S. Scribner, & E. Souberman(Eds.). Cambridge, MA: Harvard University Press.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู (2563). สร้างความพร้อม เสริมความสุขในรอยเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 18 (2), 58-73.

กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ. (2560). บทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 13 (2), 16-29.