ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี

Main Article Content

พชรพงษ์ โพธิ์น้อย
ธนภพ โสตรโยม

บทคัดย่อ

       การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี 2) ศึกษาความสำคัญกับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสำคัญกับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี จำนวน 148 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์


       ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 16-18 ปี  โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.51ขึ้นไป ซึ่งกำลังเรียนในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และนักเรียนมีรายรับต่อเดือนประมาณ 501-1,000 บาท 2) ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ทั้ง 7 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านภาพลักษณ์ของวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านครูผู้สอน ด้านหลักสูตร และด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่สนับสนุนการสอน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามกับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี พบว่า เพศ และอายุ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี นอกนั้นไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พชรพงษ์ โพธิ์น้อย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ธนภพ โสตรโยม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). [ออนไลน์] แผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564] จาก: http://plan.bru.ac.th/

ธนวรรณ สอ้าง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี. (2564). [ออนไลน์] .ประวัติความเป็นมา. [20 เมษายน 2564.] เข้าถึงได้จาก: http://www.pbpvc.ac.th/page/,

วิเชียร ดีฉาย. (2554). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของนักศึกษาสาขาเทคนิคการผลิต สังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 และภาคเหนือ 2. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อิทธิพล อเนกธนทรัพย์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชาคหกรรม ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฉัตรเพ็ชร ชมใจ. (2561). ปัจจัยในการเลือกเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ). วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

กิตติภณ กิตยานุรักษ์. (2553). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. หลักสูตรสาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

สมศรี เพชรโชติ. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารดุสิตธานี, 11(3), 20-28.

ชูศรี มโนการ. (2552). [ออนไลน์] การวิเคราะห์ตัวประกอบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ. [สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564.] จาก: http://www.tnrr.in.th/,

เชิดพงษ์ ขีระจิตต์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม.ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

สายม่าน เปลี่ยนเหล็ก. (2554). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกลและซ่อมบำรุงในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 และภาคเหนือ 3. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ชูเกียรติ วรรณสอน. (2553). การเลือกเรียนวิชาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศักดิ์ชัย คีรีศรี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียนคณะศิลปศาสตร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ศศิธร แทนรินทร์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2553. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.