การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ชนัญชิดา ขวัญใจ
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
ภาวิณี บุณยโสภณ
ปรีดา อัตวินิจตระการ

บทคัดย่อ

       การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลและ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหารในธุรกิจออกแบบงานสถาปัตยกรรม ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ผู้บริหารระดับสูง พันธมิตรและนักวิชาการในธุรกิจออกแบบสถาปัตยกรรม กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามเชิงปริมาณ จำนวน 395 คน เป็นผู้บริหารในธุรกิจออกแบบงานสถาปัตยกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้างเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ


       ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบองค์ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลประกอบด้วย7 องค์ประกอบคือ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ 2) สมรรถนะในการบริหาร 3) การนำองค์กร 4) การบริหารกระบวนการออกแบบ 5) การบริหารการเปลี่ยนแปลง) 6) การบริหารความเสี่ยง 7) การบริหารตามสถานการณ์ คู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลส่วนที่ 1 เป็นองค์ประกอบของคู่มือและส่วนที่ 2 แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล รูปแบบและคู่มือได้รับการประเมินและเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านความเหมาะสมของเนื้อหาในระดับร้อยละ 98 และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชนัญชิดา ขวัญใจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สุภัททา ปิณฑะแพทย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาวิณี บุณยโสภณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร ภาควิชาการจัดการงานออกแบบและพัฒนาธุรกิจคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปรีดา อัตวินิจตระการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

อาจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). คู่มือสถาปนิกเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริวัฒนา คุ้มทองมาก. (2552). [ออนไลน์]. ความรู้และทักษะที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับสถาปนิกระหว่างประกอบวิชาชีพ. [ออนไลน์] [สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2565] จาก: https://doi.nrct.go.th.

กมล จิราพงษ์. (2563). [ออนไลน์] ดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุมปั้นบัณฑิตตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0. [สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564] จาก: https://edunewssiam.com/th.

Swanson, R. A. (1995). Human Resource Development: Performance Is the Key. Human Resource Development Quarterly. 6(2), 207-213.

Schermerhorn, John R. (2005). Management. New York: John Wiley & Sons.

บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2549). อิทธิพลของลักษณะขององค์การ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงานสภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ ที่มีต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏลวนสุนันทา. หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภูวนาถ แก้วปลั่ง. (2548). [ออนไลน์]. โครงการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพหลักสูตร การตรวจประเมินระบบ. [สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2564] จาก: https://slideplayer.in.th/,

ณรัฐพล สุเภากิจ และเทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร. (2561). แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย. สาระศาสตร์. 1(2),23-35.

วิไลลักษ์ วงศ์ตระกูลอารี และศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2561). การประเมินปัจจัยที่นําาไปสู่ความสำเร็จต่อการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการองค์กรในสถาบันการเงิน. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์. 10 (13),1-16.

Moran, J.W. and Brightman. B.K. (2001). Leading organizational change. Career Development International, 6(2), 111-118.