ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

อรอุมา ธรรมดี

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ 2) ศึกษาระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ และ 3) เปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 187 คน โดยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


       ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.61 เป็นเพศหญิง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในช่วง 3.51-4.00 คิดเป็นร้อยละ 51.87 โดยผู้ปกครองของนักเรียนมีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.22 ซึ่งรายได้ของครอบครัวอยู่ที่ประมาณเดือนละมากกว่า 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.94 และผู้ปกครองของนักเรียนรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 24.60 2) ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความสุขอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมองโลกใน รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการปรับตัวเข้ากับบรรยากาศในการเรียน และน้อยที่สุดคือ ด้านความภูมิใจในตนเอง   และ 3) การเปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อรอุมา ธรรมดี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

รศรินทร์ เกรย์. (2560). ความสุขของคนไทย: การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณะรรม จิตวิญญาณ และความภูมิใจในตนเอง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 18(2), 71-85.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). [ออนไลน์]. แผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). [สืบค้นเมื่อ11 มีนาคม 2565] จาก: http://www.reo2.moe.go.th/,

โชติพงศ์ ธรรมสว่างสุข. (2561). ความสุขในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ตะวัน เทวอักษร. (2563). [ออนไลน์]. การปรับตัวสู่ New Normal เปิดห้องเรียนออนไลน์ ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้สำหรับทุกคน. [สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565] จาก: http://www.aksorn.com/new-normal,

ธนพล บรรดาศักดิ์. (2560). ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท. 5(1), 357-369.

ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม). (2565). [ออนไลน์]. สถิติจำนวนนักเรียน (ฝ่ายมัธยม). [สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565] จาก: http://www.ds.ru.ac.th,

อโณทัย ธีรทีป. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริพร ทองย้อย. (2560). ความสุขและแนวทางเสริมสร้างความสุขในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนธัญรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยบูรพา.