การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับข้อคำถาม (IOC) และแบบประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพ ได้แก่ ค่า IOC และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ()
ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ซึ่งมีค่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการสามารถนำแบบประเมินสมรรถนะไปใช้ประเมินการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาได้ 2) ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู โดยเป็นการตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha coefficient) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.850 ซึ่งสามารถนำแบบประเมินไปใช้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). คุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). วิจัยชั้นเรียน: หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
McClelland, D.C. (1973). Testing for Competency Rather than Intelligence. American Psychologist. 17 (7): 57-83.
Ledford, E.Gerald. & Heneman, L. Robert. (June, 1998). Competency Pay for Professionals and Managers in Business: A review and Implications for Teacher. Journal of Personal Evaluation in Education. 12 (2): 103-121.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
11 ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การสร้างเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.