การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรับรู้การบริหารจัดการและการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับงานบริการวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Main Article Content

บุญญรัตน์ ม่วงเนย

บทคัดย่อ

       วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาระดับการรับรู้การบริหารจัดการและระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อีกทั้งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบ โดยการรวบรวมข้อมูล เอกสาร ดำเนินการกำหนดกลุ่มประชากร ออกแบบและสร้างเครื่องมือแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติโดยโปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณเป็นค่าสถิติต่าง ๆ และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ร้อยละ 95 (p-value < 0.05) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร 122 ราย พบว่า ภาพรวมระดับการรับรู้การบริหารจัดการเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มีการรับรู้ในระดับปานกลาง และภาพรวมระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มีการปฏิบัติในระดับเบื้องต้น และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรับรู้การบริหารจัดการเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และระดับการศึกษา ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มี 1 ปัจจัย คือตำแหน่ง สรุปได้ว่าบุคลากรในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน มีระดับการรับรู้สูงกว่าตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ แต่ทั้ง 2 ตำแหน่งไม่มีความแตกต่างจากตำแหน่งอื่น บุคลากรในสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (ITDI) มีระดับการรับรู้สูงกว่าสำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา (ITED) และสถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย-เยอรมัน (TGDE) โดยที่สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส (TFII) มีระดับการรับรู้ไม่แตกต่างกับหน่วยงานอื่น ในด้านระดับการศึกษา พบว่า บุคลากรที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก มีระดับการรับรู้ในระดับสูง ส่วนระดับปริญญาโท ปริญญาตรี และต่ำกว่าปริญญาตรี มีระดับการรับรู้ในระดับปานกลาง แต่ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนในด้านของระดับการปฏิบัติงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกตามตำแหน่ง


       จากผลการวิจัยนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานการให้บริการวิชาการ ควรให้มีการอบรมจากผู้มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญ และในส่วนงานต้องมีการอธิบายชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ และเกิดศักยภาพในการรองรับงานบริการวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

บุญญรัตน์ ม่วงเนย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และการประเมินผล. (2563). [ออนไลน์]. แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564]. จาก https://www.planning.kmutnb.ac.th/news/view?id=38.

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2563). [ออนไลน์]. รายงานประจำปี 2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564]. จาก http://www.planning.kmutnb.ac.th/portfolio/ index?dep_id=5/.

ทิพย์สุดา หมื่นหาญ. (2552). การรับรู้และดำเนินชีวิตแบบสังคมพอประมาณ (MOSO) ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัย. วิทยาลัยราชพฤกษ์.

นิติพงศ์ มานะพงศ์. (2562). การรับรู้คุณภาพการบริการ การรับรู้การส่งเสริมการขาย การรับรู้ภาพลักษณ์ทางสังคม การรับรู้ค่านิยมทางสังคม ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำของไทยเพื่อเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิธิธร ทรัพย์อัคร. (2560). ปัญหาในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.เอ.อี. กรุ๊ป-88 จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกริก.

Yamane, Taro.1967. Statistics, An Introductory Analysis,2" Ed., New York : Harper and Row.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ. สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.