การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

บุญญลักษม์ ตำนานจิตร

บทคัดย่อ

       การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาให้แก่นักศึกษา การสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาจำเป็นต้องนำการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยมีรากฐานแนวคิดจากทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้โดยการลงมือกระทำ รู้จักคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองและสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในชั้นเรียน ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คอยส่งเสริมให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว สนใจเนื้อหาบทเรียน และเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์มีความสามารถในการแก้ปัญหา  เนื่องจากความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการวัดการประเมินผลของ PISA ซึ่งเป็นการประเมินผลการเรียนรู้จากการทดสอบระดับนานาชาติของ Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ทำให้ทักษะการแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในผลลัพธ์การเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

บุญญลักษม์ ตำนานจิตร, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

References

วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(9),373-385.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฃาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

อัญชลี แสงทอง. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์ในรายวิชางานประกอบ อาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 10 (2), 113-129

กนกวรรณ ฉัตร์แก้ว และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2564). การจัดการเรียนเชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7(1), 136 – 151.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553.

Fink, L. Dee. (1999).[online]. Active Learning. Reprinted with permission of the University of Oklahoma Instructional Development Program. [Retrieved July 5, 2008] from http://www. hcc.hawaii.edu/intranet/committees/FacDevCom/guidebk.teachtip.active.htm.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนร้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), 373-385.