ฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการแพทย์สายสนับสนุนวิชาชีพหลัก ในกรุงเทพมหานคร ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Main Article Content

ศุภลักษณ์ สกุลผอม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลในการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการแพทย์ สายสนับสนุนวิชาชีพหลัก ในกรุงเทพมหานคร ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากรทางการแพทย์สายสนับสนุนวิชาชีพหลักในกรุงเทพมหานคร ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  3) เพื่อศึกษาฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการแพทย์สายสนับสนุนวิชาชีพหลักในกรุงเทพมหานคร ช่วง สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการแพทย์ สายสนับสนุนวิชาชีพหลัก ในกรุงเทพมหานคร ช่วงสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 5) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการแพทย์สายสนับสนุนวิชาชีพหลัก ในกรุงเทพมหานคร ช่วงสถานการณ์การ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำแนกตามการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการแพทย์สายสนับสนุนวิชาชีพหลัก ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


            ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุน้อยกว่า 31 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีตำแหน่งพนักงานธุรการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท 2) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การเตรียมตัวก่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการแพทย์สายสนับสนุนวิชาชีพหลัก โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การเตรียมความพร้อมก่อนการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับมากที่สุด 4) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยรวม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันให้ระดับความสำคัญของฐานวิถีชีวิตใหม่ในการบริโภค ไม่แตกต่างกัน ส่วนในด้านตำแหน่งตามสายงานสนับสนุนวิชาชีพหลัก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหาร จำแนกตามการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยรวม การรับรู้ข้อมูลในแต่ละด้านคือ ด้านช่องทางการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้านการเตรียมตัวก่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้านอาการข้างเคียงภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่างกันให้ระดับความสำคัญต่อฐานวิถีใหม่ในการบริโภคอาหาร แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศุภลักษณ์ สกุลผอม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

กิตติพร เนาวร์สุวรรณ นภชา สิงห์วีรธรรมและนวพร คำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 14(2), 2-103.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2564). [ออนไลน์] แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม2564]. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th /uploads/files/1729520210301021023.pdf.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). [ออนไลน์]. New Normal’ คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิตปกติวิถีใหม่. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882508.

Chula Communication Center. (2021). [ออนไลน์]. เสริมภูมิต้านทานโควิด-19 กับโภชนาการง่ายๆ ที่ ใครๆ ก็เข้าถึงได้. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.chula.ac.th/news/.

Healthy Eating, (2563). [ออนไลน์] อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue037/healthy-eating,

อนุจิตต์ คงผอม. (2564). ระดับพฤติกรรมการบริการของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลทันตกรรมคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 8(2), 187-199.

ฉัตรี กันพ้นภัย. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกบ้านของประชากรในอำเภอบ้านตากก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 และหลังการเกิดวิกฤติโควิด-19. วิชาเอกบริหารธุรกิจ, สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. (2559). การพัฒนากรอบอัตรากำลังสายสนับสนุนของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 33(1), 58-70.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2563). [ออนไลน์] 5 ข้อควรรู้ก่อนรับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/.

ผกามาศ เชื้อประดิษฐ์. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงาน เขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.

มนัสชนก ไชยรัตน์. (2563). [ออนไลน์].พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/,

สุบิน สุนันต๊ะ. (2551). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนประถมศึกษา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจริญชัย เอกมาไพศาล, สิริพร เขตเจนการ, และสุพัฒนา เตโขชลาลัย. (2563). การศึกษาการบริโภคอาหารริมทางใน กรุงเทพมหานครและผลกระทบต่อทัศนคติและความตั้งใจแสดงพฤติกรรมของผู้บริโภค. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 42(1), 21-42.