ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหาร กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

จุฑามาศ ทองคำ
ธนภพ โสตรโยม

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหารกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) ศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหาร กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตาม หลักเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหาร กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี และ 4) เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหาร  กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการร้านอาหารในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัด นนทบุรี จำนวน 100 คน นักวิชาการทางด้านสุขาภิบาลอาหาร  จำนวน 1 คน ผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหารกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 คน และผู้ใช้บริการโรงอาหารในหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน   


         ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหารส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41-50 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000 - 20,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และให้บริการร้านข้าวแกงเป็นหลัก 2) การปฏิบัติงานตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหาร ในสถานการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ผู้สัมผัสอาหารส่วนใหญ่ปฏิบัติงานตามหลักสุขาภิบาลหารอยู่ในระดับดีมาก 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหาร ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามประเภทร้านอาหาร และปัจจัยเอื้อ จำแนกตามการจัดให้มีการอบรมผู้สัมผัสอาหาร มีความสัมพันธ์กัน ส่วนปัจจัยนำ และปัจจัยเสริม ไม่มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหาร กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ให้มีการจัดอบสุขาภิบาลเชิงปฏิบัติการ การตรวจประเมินการปฏิบัติงานและสุขวิทยาส่วนบุคคล ประชาสัมพันธ์เพิ่มช่องทางการสื่อสาร เพิ่มเติมมาตรการในส่วนของผู้ใช้บริการและการรักษาความสะอาด และการสนับสนุนอุปกรณ์การป้องกันและทำความสะอาด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จุฑามาศ ทองคำ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ธนภพ โสตรโยม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

World Health Organization. (2020). Advice on the use of masks in the context of COVID-19 [internet]. Geneva: World Health Organization. [Available 5 January 2021].: https://www.who.int/publications-detail/.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). [ออนไลน์]. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องท้องที่นอกราชอาณจักรเป็นเขตโรคติดต่ออันตรายรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19) พ.ศ 2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/,

กองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). [ออนไลน์]. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/,

กรมอนามัย. (2563). [ออนไลน์]. แบบตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประเภท ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม รถเข็น หาบเร่ แผงลอย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563]. เข้าจึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/,

สุรีรัตน์ ลัคนานิตย์. (2563). New normal ของธุรกิจร้านอาหารในยุคโควิด- 19. BOT พระสยาม MAGAZINE ธนาคารแห่งประเทศไทย. 63(3), 56-57.

ชณัญณิศา เลิศสุโภชวณิชย์. (2559). การศึกษาการพัฒนายกระดับและรักษามาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของโรงอาหารในกระทรวงสาธารณสุข. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

จินตนา บุนนาค. (2557). ศึกษาสภาพการณ์ด้านสุขาภิบาลร้านอาหารโต้รุ่งและพฤติกรรมการบริโภคอาหารโต้รุ่งของประชาชนในเขตลาดกระบัง. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อภิวดี อินทเจริญและคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3(2),14-25.

นภสร กันหาชาติ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตดอนเมือง.คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.