ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในการเลือกซื้ออาหารวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาการรับรู้ข้อมูลของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) 3) ศึกษาการปรับตัวในการซื้ออาหารวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการปรับตัวในการซื้ออาหารวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 กับการปรับตัวในการซื้ออาหารวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอย่ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน จากการสุ่มใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 60-65 ปี สถานภาพสมรส โดยมีระดับการศึกษาประถม ที่มีรายได้เฉลี่ย ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน 2) การรับรู้ข้อมูลของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับแหล่งที่มาของข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิค-19 กระทรวงสาธารณสุข ช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากโทรทัศน์ การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 รับรู้ข้อมูลวัคซีนแอสทราเซเนกามากที่สุด 3) การปรับตัวในการเลือกซื้ออาหารวิถีใหม่ของผู้สูงอายุเขตจอมทอง กรุงเทพมหานครในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) ของผู้สูงอายุเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเตรียมตัวป้องกันก่อนการเลือกซื้ออาหารสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า พกเจลแอลกฮอล์ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ชนิดของการวิถีใหม่ที่เลือกซื้อ อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ อาหารจานเดียวประเภท ข้าว อาหารแห้งและอาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภทเส้น อาหารพร้อมปรุง/พร้อมทานแช่แข็งประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่แข็ง เครื่องดื่มประเภทน้ำเปล่า ขนมหวานประเภทขนมไทยชนิดต่างๆ การเลือกซื้อจากผู้ขายที่มีการแต่งกายเหมาะสม มีผ้ากันเปื้อนสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือขณะหยิบอาหาร ซื้ออาหารด้วยตัวเอง ที่ตลาดสดใกล้บ้าน มีค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้ออาหารต่อครั้ง 201-300 บาท 4) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวเลือกซื้ออาหารวิถีใหม่ของผู้สูงอายุเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) การรับรู้ข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวเลือกซื้ออาหารวิถีใหม่ของผู้สูงอายุเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ยกเว้นด้านแหล่งที่มาของข้อมูลการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) และด้านการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). [ออนไลน์].เมนูอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับทุกวัย ในช่วง COVID-19. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nutrition.anamai.moph.go.th,
Word Health Organization Thailand. (2563). [ออนไลน์]. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิค 19) รายงานสถานการการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://un.or.th.
วนพร ทองโฉม. (2563). [ออนไลน์]. อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue037/healthy-eating.
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. (2563). [ออนไลน์].อาหารสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันในภาวะที่มีการระบาดของโควิค-19 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564] เข้าถึงได้จาก: http://www.tcels.or.th.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2561). [ออนไลน์]. แนวโน้มอุตสาหกรรมและขนาดตลาดของธุรกิจอาหาร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2563] เข้าถึงได้จาก: https://www.bsc.dip.go.th.
สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. (2564). ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จอมทอง จากฐานข้อมูลประชากรเดือนมิถุนายน 2564. กรุงเทพมหานคร.
ประจักษ์ เพ็ญโพธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 4 (8), 201-223.
อมรรัตน์ นธะสนธิ์, นพวรรณ เปียชื่อ และไพลิน พิณทอง. (2560). ความรู้ทางโภชนาการทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการในชุมชนกึ่งชนบทจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการรามาธิบดีพยาบาลสาร. 23 (3),344-357.
ชวนันท์ ศรีสุข. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับ ความคาดหวังและความพึงพอใจ เพื่อการพัฒนารายการในทีวีดิจิทัลmสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมควบคุมโรค. (2563). [ออนไลน์] แนวทางการให้วัคซีนโควิค-19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564] เข้าถึงได้จาก: http://www.ddc.moph.go.th.uplode/files.
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา. 21(2), 29-39.
ญานิศา ถาวรรัตน์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญลักษณ์ ถาวรจิต. (2564). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธุรกิจ. 3 (1), 41-56.
บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาและวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15 (37) ,179-195.
พงศธร ศิลาเงิน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดุษฏี เจริญสุข. (2558). ผู้สูงอายุกับการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ. 7 (2), 280-295.
ธนายุส ธนธิติ และกนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 35(35) ,57-72.
ณัฐวิโรจน์ มหายศ. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่ กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา และความสนใจในการเลือกศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยบูรพาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.