แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 304 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เคื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยสถิติ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย F-test ผลการวิจัยพบว่า
1) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพิ่มพูนความรู้เฉพาะที่ใช้ในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง รองลงมาคือ ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และความรู้ในเรื่องการบริหารเวลาในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์เกิดประสิทธิภาพในงานที่รับผิดชอบ ซึ่งทุกข้ออยู่ในระดับมาก สำหรับความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า มีความต้องการพัฒนาทักษะทักษะเฉพาะที่ใช้ในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง รองลงมาคือ ทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น และ วิธีการจัดเก็บข้อมูล และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งทุกข้ออยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า มีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี รองลงมาคือ ความมีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ และอดทน และ ความทุ่มเท อุทิศตน และเวลาในการทำงาน ซึ่งทุกข้ออยู่ในระดับมาก 2) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่สังกัดส่วนงานวิชาการ และส่วนงานสนับสนุนวิชาการ มีความต้องการเพิ่มพูนศักยภาพ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่สังกัดสำนักงานอธิการบดี มีความต้องการเพิ่มพูนศักยภาพ ด้านความรู้ ด้านทักษะ อยู่ในระดับมาก และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนั้น บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความต้องการเพิ่มพูนศักยภาพ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่สังกัดหน่วยงานต่างกันมีความต้องการเพิ่มพูนศักยภาพ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). “กำลังคน (ภาครัฐ) ในศัตวรรษที่ 21.” วารสารข้าราชการ. ปีที่ 62 ฉบับที่ 2.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564).
กองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์. (2564). จำนวนบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2565. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
McClelland, D.C. (1973). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence.” American Psychologists. Vol.17 : 1-14.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). [ออนไลน์]. แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม 2565]. จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/process_dev_digital.pdf
จุฐามาส แสงอาวุธ และพรนิภา จินดา. (2551). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎณ์ธานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
กุลทรัพย์ ทองประสิทธิ์. (2563). การพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้รับผิดชอบด้านการจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ภายใต้การควบคุมของกระทรวงพลังงาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิไล โพธิ์เตมิ และหควณ ชูเพ็ญ. (2558). บทบาทของบุคลากรสายสนับสนุนในการพัฒนางานอุดมศึกษา : วิเคราะห์กรณี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจาปี 2558. วันที่ 24 เมษายน 2558.
บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้นคว้าอิสระ การศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหารคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จารุเนตร เกื้อภักดิ์. (2559). แนวทางพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.