ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของผู้เรียนด้านการออกแบบสารสนเทศ เพื่อสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล

Main Article Content

สายสุดา ปั้นตระกูล
บุญญลักษม์ ตำนานจิตร
บรรพต พิจิตรกำเนิด
สิริมา เชียงเชาว์ไว
กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของผู้เรียนด้านการออกแบบสารสนเทศ   เพื่อสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล  กลุ่มตัวอย่าง 268 คน จาก 4 กลุ่ม คือ  1) ผู้ประกอบการ/ ผู้ใช้งานบัณฑิต ) ศิษย์เก่า (สาขานิเทศศาสตร์ ภาษาไทยและบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)  3) นักเรียนที่สนใจ ศึกษาเกี่ยวกับสารสนเทศ และ 4) ผู้สนใจพัฒนาตนเองด้านการออกแบบสารสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


     ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของผู้เรียนด้านการออกแบบสารสนเทศเพื่อสร้างสรรค์สื่อ   ดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า 1)  ผู้เรียนควรมีคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ กระตือรือร้นสนใจใฝ่รู้ข่าวสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีค่าเฉลี่ย   อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ 2) ความสามารถในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการทำงานเป็นทีม และ 3) มีความสามารถในการสร้างสรรค์ข้อมูลสารสนเทศและสื่อดิจิทัลที่แปลกใหม่โดยใช้ภาษาและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สายสุดา ปั้นตระกูล, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บุญญลักษม์ ตำนานจิตร, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บรรพต พิจิตรกำเนิด, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

สิริมา เชียงเชาว์ไว, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

References

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). [ออนไลน์]. รู้จัก "New Normal" ฉบับราชบัณฑิตยสภา. [สืบค้น 10 กรกฎาคม 2563]. จาก https://news.thaipbs.or.th/content/292126.

Phrombut, S. (2020). [Online]. New normal with changing lifestyles. [Retrieved 12 March 2021]. from https://dsp.dip.go.th/en/category/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร:

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Mathuros, S. (2021). Management Education Online in the NEW NORMAL COVID-19. Rajapark Journal. 15(40), 33-42.

Oakley, B., & Sejnowski, T. (2018). [Online]. Learning how to learn: How to succeed in school without spending all your time studying: A guide for kids and teens. [Retrieved 12 March 2021] from https://amzn.to/2mFELsa.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

Klawklad, P. & Nilwan, K. (2517). The Guidelines for Teachers Development of Professional Standard Criteria’s Under Primary Educational Service Area Office Ranong. Research 4.0 Innovation and Development SSRU’s 8th Anniversary. 1712-1723.

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล (2559) ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(2), 237-245.

ผ่องใส ถาวรจักร์. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2554. วิทยาลัยราชพฤกษ์:นนทบุรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศุจิกา ภูมิโคกรักษ์และคณะ. (2559). คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 43 (ฉบับพิเศษ),151-161.