การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมมือถือสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง และออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการฟังและการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษในเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาแอปพลิเคชั่นเกมบนอุปกรณ์พกพาสำหรับส่งเสริมทักษะการฟังและการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษในเด็กปฐมวัย โดยการออกแบบแอปพลิเคชันประกอบด้วยโหมดการเล่น 2 โหมด คือ (1) โหมดเรียนรู้คำศัพท์เพื่อพัฒนาและฝึกทักษะในการฟัง ประกอบด้วย 5 หมวดย่อย ผู้เล่นจะได้ฟังการออกเสียงของคำศัพท์ต่างๆ จากสำเนียงเจ้าของภาษา และจดจำคำศัพท์และการออกเสียงเพื่อนำไปเล่นในโหมดเกม (2) โหมดเกมเพื่อพัฒนาและฝึกทักษะในการออกเสียง มีทั้งหมด 6 ด่าน ในโหมดเกมผู้เล่นจะต้องออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ตรงกับภาพคำศัพท์ที่ปรากฏขึ้นแบบสุ่มตลอดระยะเวลาการเล่นเกมในด่านนั้นๆ
โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบแอปพลิเคชัน รวมถึงได้นำแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นไปทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ปกครองและครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับอนุบาล ซึ่งจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบทุกกลุ่มพบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยแอปพลิเคชันให้ทั้งความเพลิดเพลินพร้อมพร้อมทั้งปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ทางด้านการฟังและการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระราชบัญญัติ การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การวัดและประเมินผลแนวใหม่:เด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). [ออนไลน์]. การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาคกับอนาคตของไทยในอาเซียน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564]. จาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/
column/2013/5/2060_5264.pdf.
ลัดดา อินทนันท์. (2551). การสร้างหนังสือการ์ตูนประกอบการสอนคุณธรรม เรื่องความดีที่น่ายกย่อง สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฐิติยา เนตรวงษ์. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลแบบปรับเหมาะ เพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 33 (119),11-22.
เมธาวี ทองคำ และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธ์. (2560). การพัฒนาหนังสือนิทานภาพประกอบเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9 (25), 133-143.
วิทวัส แทนศิริ. (2559). ความสามารถการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมภาพเคลื่อนไหว. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นันทิยา น้อยจันทร์. (2020). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษสําหรับเด็กปฐมวัย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6( 6), 273-284.
Dila Umnia Soraya, Hakkun Elmunsyah, Vivin Lisa Indriyanti, Wahyu Setiawan and Putri Yuni Ristanti. (2019). Development of a Mobile Based Education Game on Parikan, Paribasan, and Tembang As a Java Language Learning Media For Vocational Students. International Journal of Innovation, Creativity and Change. 8(1), 65-79.
Ceren Cubukcu, Murat Kaan Canbazoglu and Yigit Ozerdem. (2020). Mobile Game Development for Children with Down Syndrome. International Journal of Interactive Mobile Technologies. 14(20),174-183.
Unity. (2021). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564]. จาก https://unity.com.
C#. (2021). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564]. จาก https://docs.microsoft.com/en-us/dotnet/csharp.
Firebase. (2021). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564]. จาก https://console.firebase.google.com.
Google Cloud Speech API. (2021). [ออนไลน์]. Speech-to-text. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564]. จาก https://cloud.google.com/speech-to-text.
Adobe Photoshop. (2021). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564]. จาก https://www.adobe.com.