รูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลคอนเทนต์สำหรับการศึกษาแบบปกติถัดไป

Main Article Content

ชัยพิพัฒน์ ศรีมณีชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลคอนเทนต์ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพการใช้งานและประเมินระดับความต้องการแพลตฟอร์มดิจิทัลคอนเทนต์ในส่วนของภาคการศึกษาและ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการใช้งานปัจจุบันกับความต้องการใช้งานในอนาคตของแพลตฟอร์มดิจิทัลคอนเทนต์สำหรับการศึกษาแบบปกติถัดไป ขั้นตอนงานวิจัย ดังนี้ ทำการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จัดทำแบบสอบถาม ประเมิน IOC และส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ มีการตอบกลับจำนวน 638 คน ทำการประมวลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป รายงานออกมาเป็นสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ด้วยวิธี T-Test ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ร้อยละ 95


ผลการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในสถานศึกษาภาครัฐ มีช่วงอายุ 18 - 24 ปี และมีระยะเวลาการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลคอนเทนต์ 1 - 2 ปี โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในส่วนใหญ่เป็นโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ ในระดับมากที่สุด พบว่าปัจจุบันระดับของการใช้งานแพลตฟอร์มอยู่ในระดับมาก 3 ลำดับสูงสุดคือ การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม และการเรียนผ่านสื่อวีดิทัศน์ ด้านคอนเทนต์ของสื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก 3 ลำดับสูงสุดคือ การผสมผสานระหว่างเนื้อหากับภาพกราฟิก การทำคลิปวีดิโอสั้น และหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคตมีระดับความต้องการใช้งานแพลตฟอร์มการเรียนการสอนในระดับมาก 3 ลำดับสูงสุดคือแพลตฟอร์มสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีอิสระในการเลือกเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง และการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้านสื่อการเรียนการสอนมีความต้องการในระดับมาก 3 ลำดับสูงสุดคือ การผสมผสานระหว่างเนื้อหากับภาพกราฟิก การทำคลิปวีดิโอสั้น และกรณีศึกษา ในภาพรวมแพลตฟอร์มดิจิทัลคอนเทนต์มีความต้องการสูงขึ้นในอนาคต


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชัยพิพัฒน์ ศรีมณีชัย, สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  

นักวิจัย สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  

  

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). [ออนไลน์]. ‘New Normal’ คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต 'ปกติวิถีใหม่' !. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565]. จาก https://www.bangkokbiznews.com /lifestyle/882508.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (40), 33-42.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. (2563). [ออนไลน์]. ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content). [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565]. จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites /default/files/c.dicchithalkhnethnt_rev4.pdf

ทรงพล สุ่นตระกูล. (2561) .อิทธิพลของสี่อดิจิทัลทางการตลาดเพื่อการรับรู้คุณค่าความเป็นสถาบันการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอกชน. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2565). [ออนไลน์]. อว.ตั้งธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ รับฝาก-สะสมหน่วยกิตผู้เรียนทุกช่วงวัย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565]. จาก https://www.prachachat.net /education/news-882996.

สถาบันอุทยานการเรียนรู้. (2564). [ออนไลน์]. Lifelong learning focus issue 01. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565]. จาก https://www.tkpark.or.th/stocks/library_book/o0x0/00 /64/0064a9 /book008.pdf.

Aksorn Education. (2563).แนวโน้มเทรนด์การศึกษา 5 อันดับแรก ปี 2021. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565]. จาก https://www.aksorn.com/en/5-education-trend-2021.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). [ออนไลน์]. ประเภทของ Digital Content ที่ควรมี. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565]. จาก https://www.popticles.com/marketing/types-of-content-we-should-have/.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). [ออนไลน์]. จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน จำแนกตามระดับการศึกษา และ เพศ (องค์กร : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม). [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565]. จาก https://data.go.th/dataset /univ_std_11_01.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). [ออนไลน์]. จำนวนบุคลากรทั้งหมด ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามประเภทสถาบัน ชื่อสถาบัน และคุณวุฒิสูงสุด (องค์กร : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม). [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565]. จาก https://data.go.th/dataset/univ_stf_12_02.

Yamane, Taro.1967. Statistics, An Introductory Analysis,2" Ed., New York : Harper and Row.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3, Ed.) New Jersey: Prentice hall Inc.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชานิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร:พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิไลวรรณ วงศ์จินดา สุวิมล พิบูลย์ และ คัมภิรานนท์. (2564). แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาขาวิชาทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ปัณฑ์ชณิช เพ่งผล และ พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 30 (2), 25-41.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2562). สังคมวิทยาดิจิทัล : แนวคิดและการนำไปใช้. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6 (1), 43-55.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาประชาคมอาเชียนโดยการเรียนรู้จากการผลิตสื่อ Infographic. วารสารรังสิตสารสนเทศ. 23 (2), 7 - 20.

ปิยธิดา สมบูรณ์ธนากร, วิชญวัชญ์ เชาวนีรนาท และ สุภาพ กัญญาคำ. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนกรณีศึกษา รายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6 (1), 115 - 123.

Jena, R. K. (2014). The Impact and Penetration of Smartphone Usage in Student's Life. Journal of Business Management. 8 (1), 29 - 35.