รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารฝ่ายผลิต ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการแข่งขันในยุดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการแข่งขันในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการแข่งขันในยุคดิจิทัล และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการแข่งขันในยุคดิจิทัล การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน 2) กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหารฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวน 330 คน และ 3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบ และแบบประเมิน คู่มือ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการแข่งขัน ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน และ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ด้านความรู้ มี 3 องค์ประกอบ คือ 1.1) ความปลอดภัยอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1.2) การบริหารกระบวนการผลิต และ 1.3) การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร 2. ด้านทักษะ มี 3 องค์ประกอบ คือ 2.1) ความสามารถการวางแผนและควบคุมการผลิต 2.2) การแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และ 2.3) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และด้านคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ มี 3 องค์ประกอบ คือ 3.1) ภาวะผู้นำ 3.2) ความฉลาดทางอารมณ์ และ 3.3) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาและคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการแข่งขันในยุคดิจิทัล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากการประชุมสนทนากลุ่ม มีความเหมาะสม ผลการประเมินในภาพรวม มีความเหมาะสม ครบถ้วน ชัดเจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร. กรุงเทพมหานคร : กรมทรัพย์สินทางปัญญา.
กระทรวงอุตสาหกรรม (2560). อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
อมรรัตน์ วัดเล็ก. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวางแผนการผลิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมศักดิ์ พระเดชกิ่ง. (2553). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชกัฎนครราชสีมา.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Krejcie, R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for "intelligence." American Psychologist. 28(1). 1–14.
วาสนา แววศรี. (2558). ปัญหาและผลกระทบการเข้าสู่ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร. นครปฐม : สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Ngadiman, Yunos & Aziati, A. & Bon, Abdul & RM Rasi, Raja Zuraidah & Rasi, Raja. (2015). Review Relationship TPM as mediator between TQM and Business Performance. Conference: Industrial Engineering Management Science and Applications 2015 – At : Tokyo. Japan Volume : 349
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2548). บทความวิชาการด้าน HR. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Taylor, F. W. (1911). The principles of scientific management. New York: Harper & Brothers.
กัลยา ตากูล. (2550). การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมทักษะ
การคิดและกระบวนการแก้ปัญหาอนาคต ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : กรณีศึกษาโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Lussier & Hendon. (2017). Human Resource Management: Functions, Applications, Skill Development 1st Edition. SAGE Publications. Inc; 1st edition. (2012).
Kelly, Chris & Rapp, Katie. (2017). Models & Competencies. Fall 2017 CAHRS RA Project - White Paper.
Mayer, J. D., & Salovey, P. (1997). What is emotional intelligence? In P. Salovey & D. J. Sluyter (Eds.). Emotional development and emotional intelligence: Educational implications Basic Books. pp. 3–34.
กรมวิชาการ. (2538). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.