การพัฒนาสื่อออนไลน์สำหรับความรู้ในการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

Main Article Content

โสภณ มหาเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ตามแบบแผนการวิจัยแบบสอบก่อน-สอบหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้กู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  2) แบบทดสอบวัดความรู้ในการชำระหนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)


          ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ  82.33/84.25 2) การเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังจากเรียนด้วยสื่อออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนความรู้ก่อนเรียน 3) การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

โสภณ มหาเจริญ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

อาจารย์ประจำ สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

References

กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา.(2562).[ออนไลน์] เกี่ยวกับกองทุน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562]. จาก https://www.studentloan.or.th

กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา.(2562).[ออนไลน์] คู่มือการชำระหนี้. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562]. จาก https://www.studentloan.or.th

ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2540).ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพรรณ วัฒนชัย และคณะฯ. (2559 ). การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพสื่อวีดีทัศน์บนสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดฟัน สำหรับวัยรุ่น: กรณีศึกษาในนักเรียน 2 โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ทันตแพทย์สาร. ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 135-14.

พสนันท์ ปัญญาพร. (2562).[ออนไลน์] แนวความคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ (New Media). [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562]. จาก http://photsanan.blogspot.com/2012/03/new-media.html

พัชรภรณ์ ไกรชุมพล (2555), [ออนไลน์] ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการสร้างชื่อเสียงกรณีศึกษายูทูบ (YouTube). [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562]. จาก 203.131.210.100/ejournal/=wp-content/uploads/2013/03/55018.pdf (ม.ป.ป)

สุภาวรรณ์ นวลนิล. (2557). [ออนไลน์]. ประเภทของ Social Media. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562]. จาก https://supawannuannil.wordpress.com/author/supawannuannil/.

Baker Credence. (2010). The Impact of Instructor Immediacy and Presence for Online Student Affective Learning, Cognition, and Motivation. Journal of Educators Online 7(1) January.

Davidson-Shivers, G.V., Luyegu, E. & Kimble, B.E. (2012). [Online] An Analysis of Asynchronous Discussions: A Case Study of Graduate Student Participation in Online Debates. Journal of Educational Multimedia and Hypermedia, 21(1), 29-51. Waynesville, NC USA: Association for the Advancement of Computing in Education (AACE). [Retrieved September 1, 2019]. from https://www.learntechlib.org/primary/p/38570/.

Dabbagh, N. & Kitsantas, A. (2012). Personal Learning Environments, social media, and self-regulated learning: A nautical formula for connectic formal and informal learning. Internet and Higher Education, 15 (3-8).

E. Luyegu. (June 2016).[Online]. Ensuring presence in online learning environments. IGI Global. pp 1-5. Available: [Retrieved September 1, 2019]. from http://www.igi-global.com/chapter/ensuring-presence-in-online-learningenvironments/140653