ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 213 คน และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารหวานและไขมันในปริมาณมาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และไส้กรอกเป็นอาหารที่ให้ไขมันสูง และนักเรียนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.24 ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อบเชย วงษ์ทอง. (2551). โภชนาศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
National Health Examination Survey Office. (2009). Thailand National Health Examination Survey IV 2008-2009. Bangkok: National Health Examination Survey Office.
Rattanachuek, Thawikun, Iamophat and Suthatwonwuthi, 2014
สุชาติ โสมประยูร. (2552). การสอนสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สมใจ วิชัยดิษฐ. (2554). กินเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.
ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร. (2553). โภชนาการในเด็กปกติและเจ็บป่วย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
สำนักงานทะเบียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). สถิติจำนวนนักเรียน (ฝ่ายมัธยม). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.ds.ru.ac.th, 10 พฤศจิกายน 2563.
ธัญลักษณ์ บริรักษ์. (2547). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา.
บุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 41-53.
Toathom, R. (2015). Factors relating to after school dietary behavior of students in Bangkok Noi District, Bangkok. Unpublished master’s (thesis) Kasetsart University.
อัมพวัลย์ วิศวรีรานนท์. (2541). วิถีชีวิตของคนไทยรุ่นใหม่:ศึกษากรณีพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.