ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ยีนและโครโมโซม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เบญจวรรณ จันทวงศ์
สมศิริ สิงห์ลพ
นพมณี เชื้อวัชรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้รูปแบบวงจรเชิงปฏิบัติการ (Action research spiral) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน ซึ่งเป็นนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลักสูตรปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ 5) แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูง เท่ากับร้อยละ 58.59 2) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูง เท่ากับร้อยละ 53.19 3) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูง เท่ากับร้อยละ 61.99

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เบญจวรรณ จันทวงศ์, มหาวิทยาลัยบูรพา 

นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 

 

สมศิริ สิงห์ลพ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

นพมณี เชื้อวัชรินทร์, มหาวิทยาลัยบูรพา

 อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

Bybee, R., Taylor, J., Gardner, A., Scotter, P., Powell, J., Westbrook, A., & Landes, N. (2006). The BSCS 5E instructional model: Origins and effectiveness. Colorado Springs, CO: BSCS

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: หน่วยการพิมพ์สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

วรุณยุภา ขยันกิจ. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังแนวคิดเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฮัซลินดา อัลมะอาริฟีย์. (2551). ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Novak, J. D. & Gowin, D. B. (1984). Learning How to Learn. Cambridge : Massachusets University Press.

Sakiyo, J. & Waziri, K. (2015). Concept Mapping Strategy: An Effective Tool for Improving Students’ Academic Achievement in Biology. Journal of Education in Science, Environment and Health. Vol. 1 Issue 1. 56-61

Baroody. A. J., & Bartels. B. H. (2000). Using concept maps to link mathematical ideas. Mathematics Teaching in the Middle School. Vol. 5 Issue 9. 604-609

อัจฉรา ปานรอด. (2555). ผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยการเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของงนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์ : จุลดิสการพิมพ์

หทัยรัช รังสุวรรณ. 2539. ผลของการสอนโดยใช้แผนที่มโนมติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพด้านมโนมติ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Wilson, J. W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics. In Benjamin S. Bloom (Editor), Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning, (p. 634-696). U.S.A. : McGraw – Hill