การพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า

Main Article Content

สายัณห์ ปานซัง
สุชาติ เซี่ยงฉิน
ธีรวัช บุณยโสภณ
สมนึก วิสุทธิแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิต 2) เพื่อสร้างการพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคเดลฟาย โดยใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์


          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า ประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก 25 สมรรถนะย่อย ดังนี้ 1) สมรรถนะหลักด้านความรู้ มี 7 สมรรถนะย่อย คือ 1.1) ความรู้ใหม่ 1.2) เข้าใจระบบส่งกำลังไฟฟ้า 1.3) การบริหารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 1.4) การเงินและบัญชี 1.5) กระบวนการผลิตไฟฟ้า 1.6) การบริหารความเสี่ยง และ 1.7) ด้านกฎหมายระเบียบข้อบังคับ 2) สมรรถนะหลักด้านทักษะ มี 11 สมรรถนะย่อย คือ 2.1) การบริหารความเสี่ยง 2.2) การบำรุงรักษาโดยใช้เทคโนโลยี 2.3) การถ่ายทอดองค์ความรู้ 2.4) การพัฒนาหลักสูตรเชิงเทคนิค 2.5) การเงินและบัญชี 2.6) การได้รับการรับรอง 2.7) การปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2.8) การวางแผนแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2.9) ปฏิบัติตามมาตรฐาน 2.10) ประสบการณ์ด้านการศึกษาดูงาน และ 2.11) การแก้ปัญหาความเสี่ยงเฉพาะหน้า 3) สมรรถนะหลักด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มี 7 สมรรถนะย่อย คือ 3.1) การมีภาวะผู้นำ  3.2) การบริหารจัดการคนที่ดี 3.3) การมีความซื่อสัตย์ 3.4) การมี ธรรมาภิบาล 3.5) การมีทัศนคติที่ดีรับฟังความคิดเห็น 3.6) การให้อาชีพและอยู่ร่วมกับชุมชน และ 3.7) การทำงานเป็นทีม ส่วนผลการประเมินรูปแบบศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า และคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการส่วนบริหารการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 ท่าน พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นต่อรูปแบบและคู่มือที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องที่ร้อยละ 100  หรือในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สายัณห์ ปานซัง, คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สุชาติ เซี่ยงฉิน, ศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 ศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ธีรวัช บุณยโสภณ, คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สมนึก วิสุทธิแพทย์, คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2564). เอกสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ กฟผ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://egat.co.th/, 2 พฤษภาคม 2565.

กระทรวงพลังงาน. (2563). สมมติฐานการกำหนดค่า %Dependable Capacity และ %Reliable Capacity. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://eppo.go.th/images/Infromation_service/, 12 พฤษภาคม 2564.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2564). วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมและค่านิยมองค์การ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://egat.co.th/, 2 พฤษภาคม 2565.

จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพมหานคร : เต๋า (2000).

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้:พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ต.

สุวิทย์ สายสุธนาวิชญ์, อธิศานต์ วายุภาพ และภาณุ บูรณจารุกร.(2556) รูปแบบการจัดการความรู้ ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม. หน้า1-10.

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง และ พร้อมภัค บึงบัว. (2563). การพัฒนาระบบการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์. วารสารสมาคมนักวิจัย. ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563. หน้า 532-549.

กฤตชน วงศ์รัตน์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, วิเชียร เกตุสิงห์และนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ. (2555).การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่ายผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://ph01.tci-thaijo.org/, 12 พฤษภาคม 2564.

ทวีวัฒน์ มหาศิริอภิรักษ์, สมนึก วิสุทธิแพทย์, ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ และปรีดา อัตวินิจตระการ. (2564). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิตเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม. หน้า180-191.

ประสิทธิ์ ฉัตรแสงอุทัย. (2557). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์การธุรกิจในประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

International Atomic Energy Agency (IAEA). (1998, June).Selection, Competency Development and Assessment of Nuclear Power Plant Managers. Austria: IAEA in Austria. ISSN 1011-4289

ไชยยศ ร่มรื่นบุญกิจ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการใหม่ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชญาภัทร์ กี่อาริโย.(2557). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธนกร คงรัตน์. (2560). ปัจจัยด้านการจัดการไอเดียความคิดสร้างสรรค์ และสมรรถนะของบุคลากรที่ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรกรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Judge, T. A. and Ilies, R. (2002). Relationship of personality to performance motivation: A meta-analytic review. Journal of applied Psychology. 87(5). 797-807.

Su-Chao, C. and Ming-Shing, L. (2006). Relationships among personality traits, job characteristics, job satisfaction and organizational commitment - An empirical study in Taiwan. The Business Review. Cambridge, 6(1). 201-207.

ประชา ตันเสนีย์. (2550). รูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพผู้บริหารระดับสูงของบริษัท(มหาชน) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Stout, N. Keith. (2006). Exploring the Initial Intention to Delegate to Intelligent Software Agents. Kelley School of Business Indiana University: n.p.