การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 1 ห้องเรียน ประกอบด้วยนักเรียน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. (2559).ปฏิรูปการศึกษาไทยกับความท้าทายในปัจจุบัน.วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์,ปีที่ 31 ฉบับที่ 1.1-3.
โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2562).[ออนไลน์].FOCUS ประเด็นจาก PISA. [สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2564] จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์.(2546).ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนัย จันทร์ฉาย. (2560).ประเทศไทย 4.0 และ ระบบสาธารณสุข.วารสารแพทย์เขต 4-5.ปีที่ 36 ฉบับที่ 1.1.
อารี พันธ์มณี.(2557).ฝึกคิดให้เป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์วราวุฑฒิ หมื่นยุทธ และวารินรัชนานุสรณ์. (2560).มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ: ความท้าทายสำหรับอุดทศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0.วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา.ปีที่ 29 ฉบับที่ 103.3-11
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2562).ความต้องการทักษะของตลาดแรงงานในยุค 4.0.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์.ปีที่ 21 ฉบับที่ 1. 181-190.
สมาน อัศวภูมิ. (2560).การศึกษาไทย 4.0: แนวคิดและทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาไทย.วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์.ปีที่ 1 ฉบับที่ 1. 1-11.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2557).สะเต็มศึกษา (STEM Education).กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Schachter, R. (2012).A Classroom of Engineers. Instructor.Volume 121
Issue 5.43.
อุปการ จีระพันธุ. (2556).สะเต็มศึกษาของใหม่สำหรับประเทศไทยหรือไม่.วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 42 ฉบับที่ 185.32-34.
อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556).เทคโนโลยีและวิศวกรรม คืออะไรในสะเต็มศึกษา.วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.ปีที่ 42 ฉบับที่ 185.35-37.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556).STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21.วารสารนักบริหาร.ปีที่ 33 ฉบับที่ 2.49-56.
น้ำเพชร กะการดี. (2560).การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สาขาวิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปรเมศวร์ วงศ์ชาชม. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภัสสร ติดมา. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องระบบร่างกายมนุษย์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.