การสร้างแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ วิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ วิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 3) เพื่อหาคะแนนจุดตัดและสร้างคู่มือการใช้แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 950 คน ด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ วิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการที่สร้างขึ้น มีความตรง
เชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (IOC) เท่ากับ .67-1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง .30-.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.67 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 ค่าความตรงตามสภาพโดยการหาสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .88 และมีความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ () เท่ากับ 932.51 (p = .000) ค่า RMSEA เท่ากับ .033 ค่า GFI เท่ากับ .91 ค่า AGFI เท่ากับ .90 ค่า CFI เท่ากับ .99 และค่า RMR มีค่าเท่ากับ .009 มีคะแนนจุดตัดด้วยวิธีของแองกอฟฟ์มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 23 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
American Association for Advancement of Science. (1970). Science-a process approach: commentary for teachers. In. Washington D.C.: AAAS/Xerox.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis). กรุงเทพมหานคร: นิชินแอด
บุญชม ศรีสะอาด (2532). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
ศิริชัย กาญจนาวาสี (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.