การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารในองค์กรของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล : กรณีศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ มหาวิทยาลัยของรัฐ

Main Article Content

วิไลวรรณ หาดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารในองค์กรของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกับมหาวิทยาลัยของรัฐในยุคดิจิทัลในสภาพปัจจุบัน ศึกษาเปรียบเทียบความต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารในองค์กรของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกับมหาวิทยาลัยของรัฐในยุคดิจิทัล และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารในองค์กรของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกับมหาวิทยาลัยของรัฐในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และบุคลากร    ที่ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 303 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เคื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่าง   ด้วยสถิติ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย F-test ผลการวิจัยพบว่า


  1. บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการผู้บริหารในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยของรัฐ มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 4.40) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการผู้บริหารมีความต้องการเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องมารยาทในการใช้โทรศัพท์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.55) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม และแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร อาทิ เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) และ อื่น ๆ ( = 4.52) อยู่ในระดับมากที่สุด และความรู้ในเรื่องการบริหารเวลาในการปฏิบัติงานของตนเองและผู้บังคับบัญชาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ เกิดประสิทธิภาพในงานที่รับผิดชอบ
    ( = 4.48) อยู่ในระดับมาก สำหรับความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
    ( = 4.32) โดยเมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า มีความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.47) รองลงมาคือ ทักษะในการใช้แอพพลิเคชั่นในการติดต่อสื่อสาร อาทิ เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) และ อื่น ๆ ( = 4.42) และทักษะในการควบคุมอารมณ์และความเครียดระหว่างปฏิบัติงาน ( = 4.40) ซึ่งทุกข้ออยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการผู้บริหารมีความต้องการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงาน จงรักภักดีต่อผู้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.66) รองลงมาคือ การเก็บรักษาความลับของผู้บังคับบัญชา ได้เป็นอย่างดี ( = 4.64) และความรับผิดชอบ และตรงต่อเวลา    ( = 4.61) ซึ่งทุกข้ออยู่ในระดับ มากที่สุด

  2. บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการผู้บริหารในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยของรัฐ มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารในองค์กร ในภาพรวม ด้านความรู้ และด้านทักษะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิไลวรรณ หาดี, สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร 

References

เอกสารอ้างอิง

เกษกานดา สุภาพจน์. (ม.ป.พ.). วิชาเทคนิคการเป็นเลขานุการ. เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, [ม.ป.พ.]. (บทที่ 1)

McClelland, D.C. (1973). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence.” American Psychologists. Vol.17 : 1-14.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Arch. Psychol, 22, 5–54.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). “กำลังคน (ภาครัฐ) ในศัตวรรษที่ 21.” วารสารข้าราชการ. ปีที่ 62 ฉบับที่ 2.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม 2565]. จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/process_dev_digital.pdf

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). [ออนไลน์]. องค์กรแห่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม 2564]. จาก http://drdancando.com/

ปิยฉัตร จันทิวา สุชาติ เซี่ยงฉิน ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และวิเชียร เกตุสิงห์. (2560). “รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหารในสถานประกอบการ”. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน.

นภัสวรรณ เกียรติวุฒิกาญจน์ และสำเริง อ่อนสัมพันธ์. (2554). “สมรรถนะที่ประสงค์ของเลขานุการผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี”. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม - ธันวาคม).

ณัฐสุรีย์ หวังสถิตย์วงษ์. (2560). "การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกับมหาวิทยาลัยของรัฐ." วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์. กรกฎาคม - ธันวาคม.

ณชิตา หิรัญพิชา. (2561). ทัศนะของผู้บริหารที่มีต่อสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.