รูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อ พัฒนากระบวนการสอนของครูในโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา

Main Article Content

ปริยสุดา เหตระกูล
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน ในโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา 2) ประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน ในโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ประกอบด้วยขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์เอกสาร (Content analysis) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศ 2) การสัมมนาเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (Focus group) และ 3) การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฟอร์มบันทึกการนิเทศ และแบบฟอร์มประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่จะนำไปใช้ สถานที่สำหรับการทดลองเลือกโดยเจาะจงจากโรงเรียนที่ยินดีให้ความร่วมมือ และเป็นโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา คือ โรงเรียนอนุบาลปาลินา ติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี


             ผลการศึกษา 1. รูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐานที่ผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อทำการปรับปรุงตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแล้ว ได้ขั้นตอนการนิเทศเป็น 7 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ 2) ผลลัพธ์ที่ต้องการ 3) การวางแผนการนิเทศ 4) การปฏิบัติการนิเทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ 6) การเสนอผลงานเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน 7) ผลลัพธ์ที่ได้จริง โดยมีการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการคือครูสามารถเลือกและใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมในการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย และ 2. ผลประเมินการใช้รูปแบบโดยการสอบถามความเห็นครู พบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปริยสุดา เหตระกูล, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา กรุงเทพมหานคร

ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา กรุงเทพมหานคร  

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา กรุงเทพมหานคร

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา กรุงเทพมหานคร

References

ศศิธร สุขศิริ. (2563) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดประสบการณ์

สำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนสมคิดวิทยา. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 32(114), 125-132.

สิริรัตน์ ครุวรรณ. (2550) การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ของโรงเรียนสองภาษา

ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

อรุณี หรดาล. (2559) เด็กสองภาษา: สร้างได้ในวัยอนุบาล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,

(1), 230-240.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2546) กัลยาณมิตรนิเทศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Davis, MH. (2003) Outcome-based Education. Journal of veterinary medical education.

(3), 258-263.

สงัด อุทรานันท์. (2530) การนิเทศการศึกษาหลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4)

กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มิตรสยาม.

พาสนา ชลบุรพันธ์, สินธะวา คามดิษฐ์, พิณสุดา สิริธรังศรี. (2560). รูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อ

ส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์

ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

วันชัย อยู่ตรง, ณรงค์ พิมสาร, เอื้อมพร หลินเจริญ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานนิเทศ

ภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ท

กรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.