การใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

อมรศรี แซ่ตัน
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในการเลือกบริโภคอาหารพื้นถิ่น จังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาปัจจัยการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต 4) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม  5) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต จำแนกตามการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่น และ 6) นำเสนอแนวทางการพัฒนาร้านอาหารพื้นถิ่น จังหวัดภูเก็ต       กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่น จังหวัดภูเก็ต ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และผู้ประกอบการร้านอาหารพื้นถิ่น จังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 16 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคที่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุประมาณ 36 - 40  ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ทั้งนี้มีรายได้ประมาณ 10,001–20,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดภูเก็ต 2) การเลือกใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่น พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกบริโภคอาหารพื้นถิ่นเพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างจากอาหารทั่วไป โดยอาหารจานเดียวที่นิยมบริโภค คือ หมี่ผัดฮกเกี้ยน ส่วนอาหารหลักและกับข้าวที่นิยมบริโภคคือ ใบเหลียงผัดไข่กุ้งเสียบ สำหรับอาหารว่างคาวที่นิยมบริโภคคือ ฮูแช้ ทั้งนี้อาหารว่างหวานที่บริโภคคือ โกสุ้ย และขนมหวานที่นิยมบริโภคโอ๊ะเอ๋ว ส่วนใหญ่บริโภคอาหารพื้นถิ่นเดือนละ 1 ครั้ง และจ่ายค่าอาหารครั้งละประมาณ 901- 1,300  บาท 3) ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านอาหารพื้นถิ่น ด้านราคา ด้านบุคคลากร ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการให้บริการ  ด้านส่งเสริมการตลาด 4) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภูมิลำเนาที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเพศ ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต พบว่า เหตุผลในการบริโภคอาหารพื้นถิ่น ประเภทอาหารพื้นถิ่นที่นิยมบริโภค รายการอาหารพื้นถิ่นที่นิยมบริโภค ความถี่ในการบริโภคอาหารพื้นถิ่น และค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อครั้งที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) แนวทางการพัฒนาร้านอาหารพื้นถิ่น จังหวัดภูเก็ต คือ ควรคัดสรรวัตถุดิบจากแหล่งผู้ผลิตโดยตรง เพื่อคงความสดใหม่ และมีคุณภาพ นอกจากนี้ควรกำหนดเกณฑ์ราคาที่เป็นมาตรฐาน มีความเหมาะสมกับคุณภาพของอาหารพื้นถิ่น รวมทั้งควรเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายโดยสามารถสั่งผ่านระบบออนไลน์ อีกทั้งยังควรทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ หรือสื่ออื่น ๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ลูกค้ารู้จักร้านอาหารมากขึ้น ตลอดจนควรเน้นการฝึกอบรมให้พนักงานเห็นความสำคัญของงานบริการ เน้นให้พนักงานมีความรู้ มีทักษะในการบริการ ขณะเดียวกันควรออกแบบร้านอาหารให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ และควรมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ในเรื่องของการรับออเดอร์อาหาร เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และป้องกันความผิดพลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อมรศรี แซ่ตัน, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

นักศึกษา หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  

 อาจารย์ หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). [ออนไลน์]. รายงานภาวะเศรษฐกิจ. [สืบค้นเมื่อ7 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/, .

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต. (2563). [ออนไลน์].อาหารพื้นถิ่นจังหวัดภูเก็ต. [สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://province.m-culture.go.th/phuket/index.php/food.

กนกวรรณ สาโรจน์วงศ์. (2560). ความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัด

ตราด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชัยนันต์ ไชยเสน. (2562). แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถและนวัตกรรมการบริการธุรกิจร้านอาหารยุค 4.0 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร. วิทยาลัยดุสิตธานี. 13 (3),491-504.

จังหวัดภูเก็ต. (2563). [ออนไลน์]. แผนยุทธศาสตร์ 2560-2564 จังหวัดภูเก็ต. [สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.phuket.go.th/, .

วสิฐพัชร์ วาฤทธิ์ ณัฐพงค์ แย้มเจริญ วโรชา สุทธิรักษ์ และพระเมธาวินัยรส. (2557). รูปแบบการสื่อสารด้านพระพุทธศาสนาสู่คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยยุคปัจจุบัน. รายงานการวิจัยสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. กรุงเทพมหานคร, สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ และศิริพงศ์ รักใหม่. (2562). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่. Dusit Thani College Journal. 13(1),302-314.

Armstrong , Gary & Philip, Kotler. (2007). Marketing an Introduction. (5nd ed.). New

Jersey. Prentice Hall.

Schiffman & Kanuk. (2003). Consumer behavior. 5th ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall

ฉัตราพร เสมอใจ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

อรพินท์ น้อยพิชัย. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการในการตัดสินใจเลือกสถาบันกวดวิชาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.